'จะเปลี่ยนเพื่อเป็นผู้นำในวันนี้ หรือจะเป็นผู้ตามในวันพรุ่งนี้'
ครั้งแรกที่หนึ่งในทีมที่ปรึกษาของ ADGES ได้เคยร่วมทำงานกับบริษัท บ้านปู ตั้งแต่เมื่อหกปีที่แล้ว บริษัทบ้านปูได้สร้างความประทับใจในเรื่องของความชัดเจนในเรื่องของทิศทางธุรกิจ การสร้างและพัฒนาคนอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญคือ CEO อย่างคุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ (ในขณะนั้น) ลงรายละเอียดในเรื่อง HR ชนิดที่มี CEO เพียงไม่กี่คนที่จะทุ่มเทและลองมาเล่นเรื่อง HR จริงๆขนาดนี้ จำได้ว่าสมัยนั้นทีม HR ส่ง Leadership Competency Dictionary ให้กับผู้บริหารระดับสูงไปศึกษา แต่ผู้บริหารที่อ่านจริง ลงรายละเอียด และเสนอข้อแก้ไข เพื่อให้ทาง HR สามารถสร้าง Competency Model ที่ใช้งานได้จริงและสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ก็คือ CEO นั้นเอง จนสร้างความประทับใจให้กับทีม HR และสร้างขวัญและกำลังใจได้อย่างมากหมายว่างานที่ทำมีความสำคัญและอยู่ในสายตา CEO เรื่องนี้ถ้าอ่านดูผ่านๆอาจจะไม่ได้สร้างความประทับใจมากเท่าไรสำหรับผู้อ่าน แต่ถ้าใครเคยมีส่วนในการเขียนตัว Competency Dictionary จะรู้ว่างานมันน่าเบื่อแค่ไหนดังนั้นมี CEO น้อยคนที่รู้ว่า Competency ขององค์กรที่มีการสื่อสารและใช้เป็นบรรทัดฐานในการวัดประสิทธิภาพขององค์กรมีกี่ตัวและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง จะหา CEO ที่อ่าน Competency ทุกตัวอักษรจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากหรือแทบจะเรียกว่าเป็น rare item เลยก็ว่าได้
Banpu เองก็ยังเป็นองค์กรชั้นนำองค์กรแรกๆที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยมีการระบุวัฒนธรรมองค์กรในอดีตว่าประกอบไปด้วยสี่ข้อด้วยกันคือ Intrigiry, Innovation, Care, และ Synergy หรือที่ถูกเรียกว่า Banpu Spirit โดยทางบ้านปูมีการวัดวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นระบบและนำเอาผลการประเมินไปปรับใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้เกิดได้จริงและรับฟังเสียงสะท้อนว่าวัฒนธรรมไหนเกิดจริงอันไหนยังไม่เกิดทั้งอย่างให้นำ้หนักเรื่องวัฒนธรรมองค์กรสำหรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลงานประจำปีซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากเพื่อจะให้ได้มั่นใจจริงๆว่าพนักงานไม่ได้มุ่งเน้นแต่เรื่อง KPI จนลื่มเรื่องวัฒนธรรมองค์กร
ถ้าองค์กรท่านอาจจะเริ่มบ่นว่าไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยั้งยืนและเป็นรูปธรรม ลงมาดูความยากขององค์กรอย่างบ้านปูที่พนักงานส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทยและอยู่นอกประเทศไทยดังนั้นบ้านปูผ่านการตกผลึกความคิดที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมที่ต้องเป็นสากลจริงๆที่สามารถทำให้คนหลายเชื้อชาติและหลากหลายวัฒนธรรมให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมองค์กรอย่างแท้จริง และในวันนี้บ้านปูได้ขยับและปรับเรื่องวัฒนธรรมองค์กรให้มี Personal Touch และมี Emotional Attachment โดยมีการ Transform วัฒนธรรมองค์กรของตัวเองจาก Banpu Spirit เป็น Banpu Heart โดยทำให้กระชับขึ้นและนั้นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกและการมีส่วนร่วม โดย Banpu Heart มีรายละเอียดอยู่สามเรื่องคือ
1. Passionate ใจรัก
2. Innovate สร้างสรรค์
3. Committed มุ่งมั่น ยืนหยัด
ทำไมต้องปรับวัฒนธรรมองค์กร คำตอบที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือโลกเปลี่ยนไปแล้ว การทำธุรกิจก็เปลี่ยนไป บ้านปูที่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมถ่านหินและพลังงานที่เคยเป็นอุตสาหกรรมดาวเด่นแต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่ ดังนั้นสิ่งที่ Disruption Force ที่โถมเข้ามาต้องการองค์กรที่ได้พนักงานที่ทำงานด้วยใจ (Passionate) มีความคิดสร้างสรรค์ (Innovate) ถึงแม้ว่าธุรกิจพลังงานอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น แต่ด้วยกระแสความยั่งยืน (Sustainability) และ Green Energey ได้เปิดประตูบานใหม่ให้กับบ้านปูในการเชื่อมโยงการจัดการองค์กรที่แข็งแรง ความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจในระดับโลก ทำให้บ้านปูต้องการคนพันธ์ใหม่ที่ต้องเร่งแรงอัตลักษณ์ในเรื่องของความ มุ่งมั่นและยืนหยัดอย่างชัดเจน
ซึ่งในวันงาน Banpu การเปิดตัว Banpu New Brand ได้แสดงให้เห็นว่าได้เริ่มสร้าง Banpu Heart ให้เกิดขึ้นแล้วในองค์กรและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) อื่นๆ สิ่งหนึ่งที่ ADGES รู้สึกประทับใจมากคือการที่ผู้บริหารระดับสูงทั้งสองนั้นก็คือ CEO คนปัจจุบันคือคุณ สมฤดี ชัยมงคล และประธานกรรมการบริหารอย่างคุณชนินท์ได้ออกมาขอบคุณ Stakeholder ต่างๆขององค์กร รวมไปถึงที่ปรึกษา (Consultant) ที่ได้เข้ามาช่วยพัฒนาบริษัทบ้านปูไปด้วยกัน และยังหวังว่าจะมีโอกาสได้ร่วมงานกันต่อไปในอนาคต สิ่งหนึ่งที่ที่ปรึกษารับรู้ทุกครั้งที่ทำงานกับทางบริษัทบ้านปูนั้นก็คือความน่าเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพและความจริงใจในการสร้างผลสำเร็จร่วมกัน
ทาง ADGES รู้สึกภูมิใจและดีใจที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของบ้านปูในอนาคตด้วยกัน