top of page
Writer's pictureADGES

ปรับตัวเพื่อรับมือ Gig Economy ภาค 1

ไม่เพียงแต่องค์กรและภาคธรุกิจที่จำเป็นต้องปรับตัวจากปัจจัยอย่าง Technology และ Disruption แต่สิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานรุ่นใหม่ใยยุค Gen Y และ Gen Z ที่เริ่มมีแนวโน้มที่ปฏิเสธที่ต้องทำงานประจำเป็นลูกจ้างบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง โดย Gig Economy ได้รับคำจำกัดความว่าเป็นการจ้างงานหรือจ้างให้ทำงานโดยไม่มีสถานภาพเป็นลูกจ้างของบริษัท ถ้าพูดให้งงเล่นก็คือ ตกงาน (คือไม่มีนายจ้างประจำ) แต่มีงานทำ (จากนายจ้างชั่วคราว) นั้นเอง ในเมืองไทยกระแส Gig Economy อาจจะไม่ได้รุนแรงมากเนื่องจากประเทศไทยเองยังให้ค่าในเรื่องของการทำงานในบริษัทใหญ่ๆที่มั่นคง แต่ในต่างประเทศอย่างเช่นในประเทศอเมริกามีสัดส่วนพนักงานที่ทำงานแบบ Gig Economy เกิน 50% ของตลาดแรงงานรวมไปเมื่อปีสองปีที่ผ่านมานี้เองแต่ด้วยการเติบโตของชุมชนที่สนับสนุนการทำงานแบบ Gig Economy ในประเทศอย่าง Fastwork เป็นที่เชื่อได้เลยว่า ขนาดของ Gig Economy จะมีขนาดใหญ่ขึ้นๆอย่างแน่นอน ถ้าถามมุมมองของพนักงานรุ่นใหม่ว่าอะไรคือสิ่งที่เขาคาดหวังในการยอมทำงานแบบไม่มีนายจ้างประจำ คำตอบที่ได้คือพนักงานกลุ่มนี้อยากเห็นอยู่สี่อย่างคือ

Place ความมีอิสระในการทำงานที่ไหนก็ได้ขอให้มี Wi-Fi แถมในปัจจุบันอย่างมี co-working space ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างมากมายทำให้เกิดสังคมแบบ Gig Economy คือเป็นจุดรวมทักษะที่มักที่จะใช้ร่วมกันได้อย่าง คนเขียน content digital กับคนถ่าย VDO และคนที่คิดเรื่อง Digital Strategy อาจจะไม่รู้จักกันมาก่อนแต่ก็มาร่วมทำงานให้กับลูกค้าคนเดียวกันได้ อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือพนักงานรุ่นใหม่ต้องการอิสระและไม่อยากถูกกำจัดอยู่แค่งานเดิมๆ นายจ้างๆ เดิมๆอีกต่อไป

Routine อย่างไรก็ตามสิ่งที่แยกระวัง Gig ที่ประสบความสำเร็จกับ Gig ทีไม่ประสบความสำเร็จก็คือ Gig ที่ประสบความสำเร็จจะจัดสรรเวลาในการทำงานของตัวเองอย่างชัดเจน ความมีวินัยในตัวเองไม่รักอิสระจนเสียงานและเสียลูกค้าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ การรักษาคำพูดกับลูกค้า การสร้างความเชื่อมั่นจากงานที่ตนเองทำ ถือว่าเป็นปัจจัยสำเร็จอีกส่วนหนึ่ง

Purpose สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ พนักงานที่ทำงานแบบ Gig Economy มีความเชื่ออย่างจริงจังถึงคุณค่าในงานที่ตัวเองทำอยู่ เพราะว่าถ้าต้องการความมั่นคงอาจจะต้องกลับไปหานายจ้างประจำแต่เมื่อตัดสินใจออกมาเป็นพนักงานแบบ Gig แล้วต้องเข้าอย่างลึกซึ้งว่าเราสร้างคุณค่าอะไรอยู่แล้วลูกค้าเข้ามาหาเราเพราะอะไร สิ่งเหล่านี้ถ้าอยู่ในองค์กรใหญ่อาจจะเห็นไม่ชัดแต่ถ้ารักจะเป็นส่วนหนึ่งใน Gig Economy แล้ว ถ้าไม่ชัดเจนในคุณค่าที่เราให้เก็บลูกค้าแล้วคงจะอยู่รอดยากมาก

People สิ่งที่ทำให้ Gig ประสบความสำเร็จหรือไม่ยังขึ้นอยู่กับทักษะพื้นฐานเป็นการมีเครือข่าย (Network) ที่ดีระหว่าง Gig ด้วยกัน ซึ่งเราจะเห็นได้จาก new economy จะมีพื้นฐานเชื่อมโยงกับการใช้ Technology และ Digital เครือข่ายที่เริ่มเห็นได้ชัดขึ้นๆคือการสร้างความมีส่วนร่วมในชุมชนของตัวเองและร่วมกันพัฒนาทักษะของตนเองไปด้วยกัน เราได้เห็น Google Certified Trainer ออกมากช่วยเหลือชุมชนของตนในการพัฒนาทักษะร่วมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ได้ประโยชน์โดยตรงอย่าง Google และองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างมาตรฐานและการมีส่วนร่วมของบรรดา Gig Economy เหล่านี้

ในภาคต่อเราจะมาคุยกันถึงองค์กรที่เริ่มเห็นประโยชน์ในการนำเอา Gig Workers มาใช้เสริมและควบคู่กับพนักงานประจำของตน เรามาคุยกันถึง Pain Point ขององค์กนเหล่านี้ว่าทำไมถึงเปลี่ยนใจมาใช้ Gig Worker กันครับ

77 views0 comments
bottom of page