top of page
Writer's pictureEmergenetics Thailand

Countdown to Emergenetics Certification Program, Bangkok 2018

นับถอยหลัง Emergenetics Certification Program - Bangkok 2018

Day 9 - Neuroscience Approach to Personality Assessment

การเรียนรู้เรื่องการทำงานของสมองหรือ Neuro Science ถือว่าเป็นศาสตร์ที่มีการพัฒนาก้าวหน้ามากในช่วงสามสิบปี โดยนักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาเชื่อว่าสองมีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมและการคิดของมนุษย์รวมไปถึงเรื่องของอารมณ์ สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคือเราทุกคนมีรูปแบบทางความคิดและพฤติกรรมที่ชัดเจนและไม่จำเป็นที่ต้องเหมือนกัน แต่สิ่งที่แบบประเมิน Emergenetics แตกต่างจากแบบประเมินรูปแบบอื่นคือ รูปแบบทางความคิดและพฤติกรรมสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตามประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือที่เรียกกันว่า Nuero-plasticity นั้นเอง หลายครั้งเราจะเปรียบเทียบว่าเหมือนกับการถ่ายภาพหน้าของเราขณะที่รายละเอียดอาจจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาแต่โครงหน้าของเรายังเหมือนเดิม

Emergenetics เป็นแบบประเมินทางจิตวิทยาแบบเดียวที่ให้ข้อมูลแยกในเรื่องของรูปแบบการคิดและพฤติกรรม ผลลัพธ์ที่ได้คือการเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นในเรื่องของความเหมือนและความต่าง ผลลัพธ์ที่ได้คือความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างทีมได้ดียิ่งขึ้น

Day 8 - Personality is emerged

หมายถึงรูปแบบการคิดและรูปแบบพฤติกรรมของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงตาม ประสบการณ์ชีวิต การศึกษา การเรียนรู้และความตั้งใจที่จะเปลี่ยนของคนเรา Emergenetics เป็นเครื่องมือที่ไม่ได้บังคับว่าเราต้องมีบุคลิกลักษณะที่ตายตัวคือตั้งแต่เกิดจนตายไม่สามารรถที่เปลี่ยนได้เปรียบเหมือนมือที่เราถนัดที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิด (in-born preference) ถึงแม้ว่าเราสามารถพัฒนามือข้างที่ไม่ถนัดแต่เราก็ยังมีมือที่ถนัดอยู่ข้างเดียวนั้นเอง Emergenetics บอกว่ารูปแบบการคิดและพฤติกรรมของเราเหมือนใบหน้าของเราเอง ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาแต่โครงหน้าของเราก็ยังบ่งบอกถึงเค้าโครงและตัวตนของเราได้นั้นเอง

Day 7 - Part of Personality is Genetics.

ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงเพื่อนที่เรารู้จักกันมาตั้งแต่เด็กก็ได้ เพื่อนเราย่อมมีพฤติกรรมอะไรบ้างอย่างที่ตั้งแต่เด็กจนโตที่ไม่เคยเปลี่ยนเลย พอลองมามองย้อนตัวเราลักษณะบุคลิกภาพของเราบางอย่างติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดโดยเฉพาะอย่างรูปแบบทางพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นคนพูดเยอะหรือเป็นคนที่เก็บความรู้สึกเก่ง เป็นคนที่ชอบเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนหรือเป็นคนที่ชอบนั่งอ่านหนังสือเงียบๆคนเดียว พฤติกรรมเหล่านี้ในบางช่วงอายุเราอาจจะทำมากหรือทำน้อยลงจากปัจจัยภายอื่นเช่น ในช่วงวัยรุ่นเราอาจจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากขึ้น พูดมากขึ้น เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนแต่เมื่อโตขึ้นอาจจะกลับมาใช้เวลากับตัวเองมากขึ้นเพราะไม่ได้มีแรงกดดันว่าจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนเพื่อที่จะไม่ได้ดูแตกต่างและแตกแยก

ดังนั้นพฤติกรรมและรูปแบบความคิดส่วนหนึ่งติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด

Day 6 - Your Thinking Preference has a pattern.

ความถนัดในการคิด (Thinking Preference) ของเรามีรูปแบบที่ชัดเจนและคาดเดาได้ในระดับหนึ่ง เพื่อที่จะให้เข้าใจรูปแบบการคิดให้ง่ายขึ้น Emergenetics เสนอว่าให้เรามองรูปแบบการคิดให้เหมือนกับห้องในสมองเรา ในสมองเรามีห้องอยู่สี่ห้องซึ่งแทนที่ด้วยสีสี่สี ห้องแรกเป็นห้องสีนำ้เงินหรือห้องเชิงวิเคราะห์ (Analytical) เป็นห้องที่ชอบข้อมูล ตรรกกะ ห้องที่สองเป็นห้องสีเขียวหรือห้องเชิงโครงสร้าง (Structural) เป็นห้องที่ชอบรูปแบบที่ชัดเจนและคาดเดาผลลัพธ์ได้ ห้องต่อมาเป็นห้องสีแดงหรือห้องเชิงปฏิสัมพันธ์ (Social) ห้องนี้ให้นำ้หนักเรื่องความรู้สึก ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ห้องสุดท้ายเป็นห้องสีเหลืองหรือเป็นห้องเชิงมโนทัศน์ (Conceptual) ห้องนี้เป็นห้องของไอเดีย ความเป็นไปได้แบบใหม่ๆ ภาพใหญ่

โดยปกติเรามักมีห้องที่เราชอบไปอยู่มากกว่าหนึ่งห้อง ส่วนมากมักจะเป็นสองหรือสามห้อง แล้วเรามักจะมีห้องที่เราไม่ค่อยชอบเข้าไปนั่ง ลองนึกถึงการสื่อสารที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรหรือระหว่างบุคคล หลายครั้งเกิดจากห้องที่เราชอบเข้าไปเป็นห้องที่คนที่เราคุยด้วยไม่เคยมานั้ง เราเลยไม่เคยเจอกันสักที ตัวอย่างเช่น เราชอบห้องปฏิสัมพันธ์แต่เพื่อนเรารออยู่ที่ห้องตรรกกะ

Emergenetics ช่วยสร้างความเข้าใจในความแตกต่างในรูปแบบความคิดของแต่ละบุคคล จนสุดท้ายเราต่สงมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับทีมและบุคคลอื่น

Day 5 - Your Behavior Preference has a pattern.

รูปแบบพฤติกรรม (Behavior Preference) เห็นง่ายกว่ารูปแบบความคิด ในภาษา Emergenetics เราจะแทนที่พฤติกรรมด้วยสีม่วง ขณะที่สีสี่สีคือ นำ้เงิน เขียว แดง และเหลือง จะใช้แทนที่รูปแบบการคิด เราจึงมักจะเห็นสัญลักษณ์ของ Emergenetics เป็นลูกศรสีม่วงสามอันวนรอบวงกลมที่มีสี่สีข้างใน นั้นเป็นการสื่อว่าเรามักที่จะเห็นพฤติกรรมของบุคคลก่อนที่จะเข้าไปรู้จักรูปแบบการคิดของคนๆนั้น แน่นอนพฤติกรรมของบุคคลมีความหลากหลายและซับซ้อน Emergenetics บอกว่าให้ลองมาทำให้ง่ายโดยสะท้อนพฤติกรรมที่มีความสำคัญสามพฤติกรรมดังนี้

การแสดงออก (Expressiveness) คือพลังงานที่เราใส่เข้าไปในการแสดงออกทางด้านความคิดและพฤติกรรม บอกคนใส่พลังเยอะในการสื่อสาร แต่บางคนชอบสงวนพลังงานเอาไว้

ความมุ่งมั่น (Assertiveness) เป็นความเร็วและความแรงที่เราใส่ไปในการทำงานสักชิ้นให้สำเร็จ บางคนทำอะไรด้วยความรวดเร็วและอยากให้เสร็จก่อน แต่บอกคนไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าไร

ความยึดหยุ่น (Flexibility) เป็นความเต็มใจในการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของเราตามคำร้องขอจากผู้อื่น บางคนไม่ค่อยรู้สึกอะไรมากแต่บางคนรู้สึกอาจรู้สึกไม่ชอบและต้องใช้พลังเยอะในการทำตามการร้องขอจากผู้อื่น

ขอย้ำว่าทุกคน สามารถแสดงออก มีความมุ่งมั่น และมีความยึดหยุ่น ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่ความชอบและพลังงานที่ใช้อาจจะไม่เท่ากัน บ่อยครั้งความคาดหวังที่จะให้ทุกคนมีพฤติกรรมที่เหมือนเราย่อมสร้างความไม่เข้าใจในระหว่างบุคคลและระหว่างทีม

Day 4 - Your Behavior Preference has a pattern.

เป็นเรื่องถกเถียงในแวดวงการพัฒนาบุคคล (Personal Development) ว่าการเรียนรู้เราควรที่จะให้นำ้หนักในเรื่องใดระหว่างการพัฒนาจากจุดแข็ง (Strength-base) หรือการพัฒนาเพื่อกำจัดจุดอ่อน (Weakness-base) บ่อยครั้งเราเห็นองค์กรเริ่มพูดเรื่องของการพัฒนาจุดแข็งแต่ขบวนการทำ Individual Development Plan (IDP) เริ่มมาจากช่องว่างของสมมรถนะ (Competency Gap) ซึ่งเป็นจุดอ่อนของแต่ละบุคคล หลายองค์กรเริ่มถามว่าพัฒนาอย่างไรก็ไม่ค่อยเห็นผลลัพธ์เท่าไร

Emergenetics มองว่า การพัฒนาผ่านจุดแข็งทำได้ง่ายกว่าแต่ไม่ใช่การพัฒนาที่บุคคลและองค์กรควรจะให้นำ้หนักทั้งหมด ทำไมการพัฒนาผ่านจุดแข็งถึงง่ายกว่า คำตอบคือเป็นสิ่งบุคคลแต่ละท่านถนัดอยู่แล้วบางครั้งการใช้จุดแข็งมากจนเกินไปอาจจะสร้างปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น บุคคลที่มีรูปแบบความคิดแบบโครงสร้างอาจจะวางแผนงานโดยละเอียดได้ดี แต่อาจจะขาดความยึดหยุ่นและสร้างความหงุดหงิดและความลำบากใจให้กับเพื่อนร่วมงาน คนที่ใส่พลังในการสื่อสารมากโดยปกติอาจจะเป็นนักสื่อสารที่เก่งแต่อาจจะไม่เปิดรับฟังผู้อื่นจนทำให้ขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจก็เป็นไปได้

ดังนั้นการปรับลดในสิ่งที่เรามีเยอะอาจจะเป็นวิธีง่ายๆในการเชื่อมโยงกับผู้อื่นและอย่างเปิดพื้นที่เพื่อที่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การพัฒนาผ่านจุดแข็งยังคงเป็นจุดเริ่มที่ดีแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด

Day 3 - Self-Aware of your weakness.

บ่อยครั้งในการทำ Emergenetics Workshop ที่เราใช้ชื่อว่า Meeting of the Minds มักจะได้ยินผู้ร่วมสัมมนาพูดเล่นบ้าง จริงบ้าง ที่เล่นที่จริงบ้างว่า 'พวกเราไม่มีจุดอ่อน' จริงแล้วทุกคนมีสิ่งที่เราสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ซึ่ง ข้อมูลจากการประเมินผลงานประจำปี (Performance Appraisal) การใช้แบบประเมินอย่าง 360 องศาหรือเสียงสะท้อนต่างๆให้ข้อมูลในเรื่องจุดอ่อน แต่สิ่งสำคัญมากไปกว่านั้นคือขบวนการการยอมรับว่าเรามีจุดอ่อนเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งยากมากกว่า ผู้บริหารระดับสูงมักมาด้วยความมั่นใจ จนบางครั้งทำให้เกิดอัตตาในการยอมรับจุดอ่อนของตน ดังนั้นการมองจุดอ่อนผ่านเครื่องมืออย่าง Emergenetics สามารถทำให้การยอมรับจุดอ่อนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง เพราะ Emergentics แสดงออกมาถึงรูปแบบความคิดและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่ว่าเราจะใช้มากไปหรือน้อยไปย่อมสร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นกับองค์กรและเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ การอธิบายจุดแข็งและจุดอ่อนผ่าน Emergenetics จะลดความเป็นตัวตนและความมีอคติลง

จากประสบการณ์ในการทำงานกับผู้บริหารในองค์กรชั้นนำสิ่งหนึ่งที่ทีมที่ปรึกษาเห็นอยู่เสมอคือ ผู้บริหารที่เก่งมักที่จะยอมรับสิ่งสะท้อนกลับจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วย ในขณะที่ผู้บริหารที่ชอบสร้างปัญหาให้กับองค์กรมักจะมองว่าตัวเองนั้นมีความสมบูรณ์อยู่ไม่อย่างงั้นคงเป็นผู้บริหารในองค์กรไม่ได้ บองท่านถึงขนาดบอกว่าทำได้แค่นี้และไม่พร้อมจะเปลี่ยนอีกแล้ว อยากให้ดีกว่านี้ให้ไปหาที่อื่น เล่นเอา CEO กับ HR ถึงกับปวดหัวไม่รู้จะให้เสียงสะท้อนอย่างไร ดังนั้นการให้เสียงสะท้อนผ่านการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาที่ง่ายและเชื่อถือได้ยอมเป็นทางออกที่ง่ายและลดการให้นำ้หนักความเป็นตัวตนแต่เป็นสิ่งที่เครื่องมือบอกออกมาแบบกลางๆนั้นเอง

Day 2 - Everyone can flex.

มีคำกล่าวที่ว่า 'Comfort Zone is a beautiful place but nothing ever grows there' สาระสำคัญของการเรียนรู้เรื่องของรูปแบบการคิดและรูปแบบพฤติกรรมคือ การเข้าใจสิ่งความถนัดของเราและรูปแบบการทำประจำๆจนก่อให้เกิดบุคลิกลักษณะ (personality) ของเรา ซึ่งถ้าเราอยู่คนเดียวก็คงจะไม่มีใครสนใจเท่าไรแต่ในเมื่อเรายังต้องอยู่กับผู้อื่นและประสิทธิภาพในการทำงานของทีมขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถที่จะทำงานกับผู้อื่นได้ดีมากน้อยเพียงใด เราสามารถที่จะเปลี่ยนความคิดของเราจากความต้องการที่คนอื่นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้สามารถทำงานได้กับเรา จนเป็นการที่เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยน (flex) รูปแบบการคิดและพฤติกรรมของเราให้เข้ากับผู้อื่นซึ่งเป็นทักษะที่สำหรับแลัสามารถต่อยอดเป็นทักษะทางด้านผู้นำที่สำคัญในอนาคต

Emergenetics มักที่จะเปรียบว่าบุคลิกลักษณะของเราเปรียบเหมือนหนังยางคือสามารถที่จะถูกดึงให้เปลี่ยนรูปเนื่องด้วยมีความยึดหยุ่น (flex) อยู่ในระดับหนึ่ง และจะกลับมาสู่สภาพเดิมได้ นั้นคือข้อสรุปในเรื่องของการปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดและพฤติกรรมว่าเราทุกคนสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ อย่าเอาเรื่อง comfort zone มาเป็นข้ออ้าง

Day 1 - Celebrate Personality Diversity

ทุกครั้งที่เรามีโอกาสได้ทำเรื่อง Meeting of the Minds Workshop ที่ใช้ผลลัพธ์จากเครื่องมืออย่าง Emergenetics ในการสร้างความเข้าใจเรื่องทีมและบุคคล เรามักที่จะได้ยินคำถามที่ว่า 'มี Profile ที่เกิดมาเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบเลยไหม' คำตอบคือ 'ไม่มี' สิ่งที่เราเชื่อคือ Emergenetics เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความถนัดทางความคิดและพฤติกรรม แต่ไม่ใช่เครื่องมือที่วัดถึงความสามารถและทักษะในการทำงาน การที่เราคนหนึ่งจะพัฒนาตัวเองให้มีทักษะและความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต้องการมากกว่ารูปแบบของความถนัดแต่ยังรวมไปถึงการพัฒนา การลองผิดลองถูกรวมถึงการเรียนรู้ เราอาจจะอยากคาดเดาว่าผู้ที่มีรูปแบบการคิดเชิงวอเคราะห์น่าจะเป็น CFO ที่ดี แต่จากประสบการณ์ของเราพบว่า CFO เก่งๆหลายคนในประเทศไทย มีรูปแบบความคิดในเรื่องของมโนทัศน์ (conceptual) และปฏิสัมพันธ์ (social) ดังนั้น การเป็นผู้นำไม่ได้มาด้วยรูปแบบเฉพาะและ profile ที่ตายตัว

อย่างก็ตามยังมีแบบประเมินอีกหลายแบบประเมินที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการคัดเลือกพนักงาน (recruitment) ซึ่งมีความถูกต้องมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่สถานะการณ์ แต่ Emergenetics ไม่ใช่แบบประเมินในกลุ่มนั้นและเลยๆเครื่องมือก็ไม่ใช่แต่มีการเข้าใจผิดในหลายองค์กรและนำแบบประเมินมาใช้ในการคัดเลือกพนักงานในขณะที่แบบประเมินไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้ในกรณีนี้

เราตั้งใจที่จะสร้างความเข้าใจในเรื่องของมองความต่างในเรื่องบุคลิกลักษณะในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าท่านจะใช้แบบประเมินใดๆก็ตาม

23 views0 comments
bottom of page