top of page
Writer's pictureADGES

Why Exponential Leaders Matter!

มีรายงานการวิจัยหลายฉบับระบุเอาไว้ว่า Artificial Intelligence หรือ AI สามารถที่ทำงานแทนมนุษย์ได้กว่า 50-90% ของงานที่มนุษย์ทำงานอยู่ปัจจุบัน โดยงานที่มีความเสี่ยงในการที่จะถูกทดแทนโดยแรงงานประดิษฐ์หนี้ไม่พ้นในเรื่องของการ key-in ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล งานที่ต้องอาศัยฐานข้อมูลที่หลากหลาย สิ่งที่ทาง ADGES เห็นในการอ่านบทวิเคราะห์ในเรื่องของ Disruption คือ เรามักที่จะพูดถึงความสามารถของ Technology และ AI ในการทำงานต่างๆแต่เรามักที่จะไม่สามารเชื่อมโยงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นจริงๆในบริบทของเมืองไทย เราเห็นเทคโนโลยี่ในเรื่องของ e-book ว่าจะมาแทนทีหนังสือ เนื่องจาก e-book ได้เรื่องความสะดวกและราคาที่ถูก แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหนังสือที่จับต้องได้ไม่ได้ตายและหายไปในคนเรายังชอบในสัมผัสของการอ่านหนังสือและการจัดวางหนังสือเล่มโปรดเพื่อโชว์เป็นของแต่งบ้านให้คนผ่านไปผ่านมาได้เห็น ดังนั้นสิ่งที่เทคโนโลยี่ใหม่ๆทำได้อาจจะไม่ได้ทดแทนสิ่งที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่อดีต ดังนั้นสิ่งที่จะวัดกันว่าองค์กรจะสามารถอยู่ได้และสามารถแข่งขันได้มีเรื่องอะไรบ้างในอนาคต ทาง ADGES ขอสรุป แนวโน้มที่เกี่ยวข้องในเรื่อง Technology Disruption และ Innovation ในบริษทคนไทยดังต่อไปนี้

1. ลักษณะเฉพาะของ Technology Disruption ในประเทศไทย คนไทยเป็นคนที่ชอบลองของใหม่และมีวัฒนธรรมที่ชอบความสนุกสนานมาอย่างช้านาน Technlogoy บ้างอย่างอยู่ร่วมกับคนไทยได้อย่าง ตัวอย่างเช่น การใช้ Mobile Internet เป็นสิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งที่มีตัวเลขจากการสำรวจในเรื่องการใช้ Mobile Internet ว่าคนไทยใช้เวลากับการใช้ Mobile Internet เกือบห้าชั่วโมงหรือสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยกว่าสามชั่วโมงเราใช้ไปกับการเล่น Social Media ตรงนี้ถ้ามองผ่านๆอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้ามองถึงการสูญเสียเวลากับการสูญเสียประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศ (Productivity) ก็ถือว่าเราทุกคนได้แบกรับต้นทุนในการผลิตที่มาจาก Productivity ที่ตำ่ แถมยังมีงานวิจัยที่มาสนับสนุนอีกว่า ผลการสอบวัดความรู้ของเด็กไทยที่ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเด็กในภูมิภาคนี้ได้ทำให้น่าเป็นห่วงในเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวได้

2. ความพร้อมในเรื่องของ Digital Readiness ของประเทศอยู่ในระดับตำ่ จากการวิจัยของ IMD จาก Switzerland มีการระบุว่าความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 30 ซึ่งตกลงมาสามลำดับจากปีที่แล้ว แต่เมื่อมองเฉพาะในเรื่องของ Digital Readiness ผลของการจัดอันดับจาก IMD ระบุว่าความสามารถในเรื่องการจัดการเทคโนโลยี่ในอนาคตของเราตกลงมาอยู่ที่ลำดับที่ 47 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับประเทศอย่าง Indonesia และ Phillipines ส่วนประเทศอย่าง Singapore และ Malaysia ต่างนำเราไปกันไกล ซึ่งในปีนี้เราเริ่มเห็น IMD ได้ให้นำ้หนักในเรื่อง Digital Readiness เป็นนำ้หนักที่มากขึ้น เนื่องด้วยการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี่ที่รวดเร็วทำให้ประเทศที่มีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยี่และความสามารถในการเรียนรู้ ประกอบกับทัศนคติที่จะเปิดรับในสิ่งใหม่ ก็สามารถที่จะแข่งขันได้ในอนาคต

3. Future of Talent ในเรื่องของพนักงานในอนาคตก็มีการปรับเปลี่ยนไปพอสมควร เป็นที่ทราบดีว่าเรามักที่จะได้ยินองค์กรพูดอยู่เสมอว่าพนักงานรุ่นใหม่ๆมักที่จะอยู่ไม่ทน เนื่องด้วยพนักงานรุ่นใหม่มักที่จะมีทางเลือกในการทำงานที่มากกว่าคนรุ่นก่อน พนักงานรุ่นใหม่มักที่จะมองหาการทำงานที่มีความยืดหยุ่นโดยเฉพาะในเรื่องของเวลาการทำงานและสถานที่ในการทำงาน อย่างไรก็ตามเป็นสิ่งที่น่าตกใจว่า พนักงาน Gen Y ที่เกิดในช่วงปี 1985-1995 กว่า 50% วางแผนที่จะหางานใหม่ภายในระยะเวลาสองปี ซึ่งสถานการณ์ก็ไม่ได้ดูดีขึ้นเมื่อพนักงาน Gen Z หรือ Millennium ที่เกิดในช่วง 1995-2005 ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานกลับบอกว่ากว่า 67% ต้องการที่จะเปลี่ยนงานภายในเวลาสองปี ทั้ง Gen Z และ Gen Y กว่าครึ่งบอกว่าอยากจะทำงานที่ไม่ได้มีหัวหน้าและองค์กรที่ตายตัวแต่อย่างทำงานแบบ Gig Economy หรือจ้างงานเป็นครั้งๆมากกว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรตั้งมาเริ่มถามตัวเองถึงรูปร่างหน้าตาของ Future Talent ว่ารูปแบบเดิมๆในการสร้าง Talent อาจจะต้องเปลี่ยนไปเมื่อ Talent เองก็ไม่อยากที่จะผูกมัดตัวเองกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเวลานานอีกต่อไป

4. ความถนัดของประเทศไทย ในสภาวะเศรษฐกิจของโลกโดยรวมส่วนบ้างมากกว่าครึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP มาจากภาคการบริการ ในประเทศไทยเองกว่า 60% ของ GDP มาจากภาคการบริหาร แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจว่าทุกครั้งที่เราพูดถึงนวัตกรรมเรามักที่จะให้นำ้หนักไปในเรื่องของนวันกรรมในตัวสินค้ามากกว่านวัตกรรมในเรื่องของการให้บริการ การบริการเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ ประเทศไทยมีต้นทุนที่ดีในเรื่องของการบริการ เนื่องจากคนไทยเป็นคนที่รักสนุก มีอัธยาศัยที่ดีและประเทศไทยเองก็ไม่ได้มีภัยทางธรรมชาติที่ร้ายแรงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านรอบตัว แต่ดูเหมือนว่าการแข่งขันในอนาคตต้องการ Infrastructure รูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้การต่อยอดงานทางด้านบริการของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทักษะพื้นฐานในเรื่องของการจัดการ Management Skill และ Soft Skill เป็นสิ่งที่ยังขาดในประเทศของเรา ดังนั้นแทนที่ภาครัฐจะให้นำ้หนักในเรื่องของนวัตกรรมในตัวสินค้าก็ควรที่จะให้นำ้หนักในเรื่องของงานบริการด้วย

5. ทักษะที่จำเป็นในอนาคตยังขาดแคลนอีกมากในประเทศไทย เป็นที่ทราบดีว่ากลุ่มทักษะที่มีความสำคัญในอนาคตอย่าง Data Scientist หรือ Programming เป็นทักษะที่การขาดแคลนอย่างหนักในประเทศไทยเอง จนทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะของผู้ใช้นวัตกรรมมากกว่าเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรม ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยเองต่างเปิดรับนวัตกรรมใหม่และรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ๆได้ค่อนข้างง่าย เราจึงเห็น e-commerece platform ใหญ่ๆจากต่างประเทศมาเปิดที่เมืองไทยหลายเจ้าไม่ว่าจะเป็น Alibaba JD Commerce เป็นต้น จนเรามองข้ามไปว่าผู้ประกอบการรายเล็กๆที่เป็นห่วงโซ่ธุรกิจชุมชน ก็จะไม่สามารถที่จะแข่งขันได้อีกต่อไป เป็นที่น่าเป็นห่วงว่าในขณะที่ความสามารของผู้ประกอบการในประเทศยังไม่สามารถพัฒนาให้ได้ทันก็ต้องประสบกับสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการที่เป็นผู้เล่นระดับโลกหรือภูมิภาคต่างเข้ามาดึงธุรกิจพื้นฐานของประเทศไป ในอดีตประเทศไทยยังมีอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศเช่น อาหาร ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอิเล็คโทรนิค เป็นพระเอกในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศ แต่ในปัจจุบันด้วย Technology Disruption ทำให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ๆ และประเทศใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น ประจวบกับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ทางประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาเริ่มอ่านเกมส์การเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สร้างธุรกิจและผู้บริโภครายใหญ่ของโลกและเริ่มนโยบายกีดกันทางการค้า ทำให้เลี่ยงไม่ได้ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราจะตกเป็นเป้าหมายในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีนในขณะที่ผู้เล่นในประเทศยังไม่สามารถในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของตน

แล้วประเทศไทยและองค์กรไทยจะแข่งอย่างไร

ADGES Exponential Leaders Forum

September 25th, 2018 - 1PM to 5PM

The Lecture Hall, Grand Hyatt Erawan

ADGES Exponential Leaders Forum, Sept 25th 1PM-5PM

The Lecture Hall, Grand Hyatt Erawan

22 views0 comments
bottom of page