top of page
Writer's pictureADGES

Bye bye 'CHRO' and say hello to 'CRO'

ถ้าพูดถึงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในองค์กรเรามักที่จะคุ้นเคยกับตำแหน่งอย่าง CEO (Chief Executive Officer), CFO (Chief Financial Officer) และ COO (Chief Operation Office) ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่เพิ่งจะเป็นที่รู้จักอย่าง CMO (Chief Marketing Officer) CTO (Chief Technology Officer) หรือย่าง CHRO (Chief Human Resource Office) ก็เริ่มจะเข้ามามีบทบาทในช่วงหลังๆมานี้เอง สืบเนื่องจากความก้าวหน้าใน Technology มีการประมาณว่าลักษณะงานกว่า 95% จะสามารถถูกทดแทนด้วยการใช้ Technology ใหม่ๆ แน่นอนมนุษย์อย่างเราคงต้องแย้งว่า AI คงไม่สามารถมาแทนทีเราได้ ถ้าเป็นงานซำ้ๆหรือการคำนวณและประมวลผลอาจจะเป็นไปได้แต่ถ้าเป็นงานที่ความสลับซับซ้อนและงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูงคงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เดียว

ที่เมืองจีนได้มีการพิสูจน์ประเด็นนี้โดยมีทีมศัลยแพทย์สมองหนึ่งทีมมี 25 ท่านมาร่วมทีมกันเพื่อแข่งวินิจฉัยความผิดปกติในสมองของผู้ป่วยโดยนำเอาภาพ CT Scan ของสมองมาดูเพื่อวินิจฉัยเรื่องความผิดปกติของสมอง โดยคู่แข่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ผลปรากฏว่า AI ใช้เวลา 15 นาทีในการวินิจฉัยความปกติทางสมองจำนวน 225 case ด้วยความถูกต้องมากกว่า 87% โดยทีมคุณหมอใช้เวลากว่า 30 นาทีในการวินิจฉัยและมีความถูกต้องประมาณ 66% แน่นอนมนุษย์คงไม่ยอมแพ้ง่ายๆเลยต้องมีรอบสองปรากฏว่า AI ใช้เวลา 3 นาทีในการวินิจฉัยความผิดปกติพิเศษของสมองที่มีภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อโดยมีความถูกต้อง 83% ในขณะที่ทีมคุณหมอใช้เวลากว่า 20 นาทีในการวินิจฉัยโดยมีความถูกต้องอยู่ที่ 63% ทั้งหมดนี้ AI ทำงานโดยไม่มีความเหนื่อยล้า ถ้าหากว่างานทางด้านศัลยแพทย์สมองจะสามารถถูกทดแทนได้โดย AI งานที่เหลือส่วนมากก็คงสามารถถูกแทนที่ด้วย AI ได้อย่างไม่ต้องสังสัย

ดังนั้นในอนาคตและความอยู้รอดขององค์กรจำเป็นที่ต้องการกลยุทธ์ในเรื่องของความสามารถขององค์กรหรือ Organization Capabilities ซึ่งในปัจจุบันมักจะให้นำ้หนักอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์หรือ Human Resources นั้นเอง แต่เมื่อเราลองดูองค์กรที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผลกำไรอย่างต่อเนื่องจนไม่มีองค์กรอื่นจะสามารถมาท้าทายตำแหน่งผู้นำขององค์กรอย่าง Google, Amazon, Facebook และ Apple เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าบริษัททั้งสี่ได้สร้างความสามารถขององค์กรผ่านการคิดรูปแบบใหม่หรือว่า New Paradigm ในการที่นำเอาทรัพยากรทั้ง Human Resource และ Non-Human Resource หรือ Artificial Intelligence มาใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทจริงๆ เมื่อมองในการลงทุนค้นคว้าและวิจัยในเรื่องของ AI จะเห็นว่าเมื่อเอางบวิจัยในเรื่อง AI ของ Google และ Amazon มาร่วมกันจะเป็นเงินที่ใช้ในการลงทุนใน AI และ Technology ใหม่ที่สูงกว่าบริษัทที่เหลือของทั้งโลกรวมกัน เรื่องนี้ถ้าไม่เข้าใจถึงบทบาทของ Technology และ AI จะมองว่าฟังดูเหมือนนิยาย fantacy ไม่เห็นจะเกี่ยวกับงาน HR ที่ทำอยู่เท่าไร ดังนั้นจะขออนุญาติยกตัวอย่าง Technology ที่เข้ามาในกลุ่มงาน HR เรียบร้อยแล้วสักห้าตัวอย่างคือ

1. งานด้าน Recruitment: AI สามารถที่จะป้อนคำถามและตรวจสอบว่าเราตอบตามความเป็นจริงหรือโกหก AI ยังสามารถวิเคราะห์ถึงบุคคลิกลักษณะ (personality) เพื่อประเมินงานเหมาะสมกับงาน เพื่อนร่วมงาน และลูกค้าที่เราทำงานด้วยได้หรือไม่ AI สามารถแนะนำ HR ควรจะสัมภาษณ์งานต่อหรือไม่โดยพิจารณาตามข้อมูลโดยปราศจากความลำเอียง

2. งานสร้าง Competency Profile ที่องค์กรต้องการแบบ Real-time ตามปัจจัยที่เปลี่ยนไปในอุตสาหกรรมและผู้เล่นในอุตสาหกรรม ในขณะที่องค์กรส่วนมากใช้เวลาเป็นหลักปีในการสร้าง Leadership Competency และ Competency Profile AI สามารถวิเคราะห์ถึงพลวัตที่เปลี่ยนไปในอุตสาหกรรม รูปแบบและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยน กลยุทธ์ของคู่แข่ง เพื่อสร้างเป็น Competency Profile และสามารถสร้าง Position Matching แบบ Real-time ตามข้อมูลของแต่ละบุคคลที่มีอยู่ในระบบไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม ผลงานประเมินย้อนหลัง คำติชมของลูกค้าเป็นต้น

3. งานด้านการฝึกอบรม AI สามารถที่จะจับ pattern ของประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานและระบุถึงการพัฒนาที่เหมาะสมโดย AI สามารถสร้าง Learning Journey และรูปแบบการอบรมที่เหมาะสมในแต่และคนเพื่อสร้าง Learning Experience เฉพาะสำหรับพนักงานแต่ละคน โดยการเรียนรู้ในอนาคตจะเรียนผ่าน Virtual Classroom พร้อมกับระบบ Tracking เพื่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนไประหว่างก่อนและหลังการอบรม

4. งานทางด้านโค้ช: เมื่อต้นปีในงาน ATD (Association of Talent Development) ที่ San Diego ได้มีการแนะนำ concept ที่ใช้ AI มาใช้ในการทำ Coaching แถมยังมีการตั้งชื่ออย่างเท่ห์ว่าเป็น Robo-Coach เอาเป็นว่าได้รับแรงต้าน (และเสียงโห่) จากบรรดา Coach ไปเต็มๆ แต่เมื่อลองมาถึงความเป็นไปได้ว่า Robo-Coach สามารถที่จะสร้างความถามที่เหมาะสมกับสถานการณ์พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์นำ้เสียงของคนตอบว่าตอบด้วยความจริงใจหรือไม่หรือตอบไปอย่างนั้น ถ้าถามจุดอ่อนของ Coach ส่วนมากคือเรื่องการฟังอย่างเป็นกลางโดยไม่ตัดสิน ถ้าเป็นข้อนี้อาจจะต้องบอกว่า AI น่าจะทำได้ดี

5. งานทางด้าน People Analytics ต้องบอกว่างานนี้น่าจะแข่งกับ AI ลำบาก ในอดีตองค์กรมักจะใช้ Data ในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุ (Diagnose) ว่าเกิดอะไรขึ้นกับองค์กรและทีม แต่ในอนาคตแนวโน้มจะเป็นในเรื่องของการทำนายหรือ Prediction ในสิ่งที่ยังไม่เกิดแต่สามารถที่จะทำนายล่วงหน้าซึ่ง AI สามารถทำได้เร็วกว่าและสามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลของทั้งองค์กรเพื่อดึงเอาข้อสรุป (insight) ออกจาก ข้อมูล (information)

ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาแล้วเป็นบางส่วน ยอมจะเป็นสิ่งที่บอกแนวโน้มที่กำลังจะเกิดในอนาคตว่าองค์การไม่สามารถที่จะให้นำ้หนักแค่ทรัพยากรบุคคลได้ทั้งหมด ตำแหน่งที่จะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กรจะไม่ใช่ Chief Human Resource Office (CHRO) แต่จะเป็น Chief Resource Office (CRO) ความสามารถในการเชื่อมโยงทรัพยากรในรูปแบบต่างๆกันไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรมนุษย์หรือ AI ไม่ว่าเราจะเป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นหรือเราใช้ทรัพยากรเหล่าตามความจำเป็นหรือเป็นงานๆ จะเป็นทักษะในอนาคตที่จะตัดสินว่าองค์กรจะสามารถอยู่รอดได้หรือไม่

เรื่อง ดร.เอ ADGES

10 views0 comments
bottom of page