สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา การเรียนรู้และการมีชั่วโมงเรียนเป็นเวลานานเพื่อผลักดันให้เด็กนักเรียนประสบความสำเร็จในการสอบ แต่สิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไปหลังจากสิงคโปร์เริ่มเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา
การอภิปราย การบ้านและคำถามทดสอบความรู้จะถูกนำมาใช้แทนระบบคะแนนและผลการเรียน (Grades) โดยจะเริ่มใช้วิธีการเหล่านี้และยกเลิกการสอบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปีพ.ศ.2562
ส่วนเด็กในช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้นสิงคโปร์จึงได้มีแนวคิดปรับเปลี่ยนระบบการคิดคะแนนใหม่ โดยตัดการปัดจุดทศนิยมออกไป ทั้งนี้ก็เพื่อลดการให้ความสำคัญกับผลคะแนนมากกว่าความรู้ที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ไปนั่นเอง
ทักษะด้านอารมณ์คือจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจและการศึกษาหลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับทักษะด้านอารมณ์ หรือ Soft Skills มากขึ้น เนื่องจากทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต ซึ่งทักษะ Soft Skills ที่สำคัญสำหรับงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Critical thinking, Leadership และ Complex problem-solving รวมถึงทักษะอื่น ๆ อีกหลายด้านจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย
“การเรียนรู้ไม่ใช่การแข่งขัน” นาย Ong Ye Kung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสิงคโปร์กล่าว นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่ากระทรวงศึกษาธิการมีแผนจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการศึกษาทั้งระบบ โดยลดการแข่งขันระหว่างนักเรียนลง และเพิ่มความตระหนักในการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อให้นักเรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ของตัวเองได้อย่างเต็มที่
อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโดยนำระบบการศึกษามาเป็นพื้นฐานในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคตนี้เป็นแนวทางที่น่าสนใจและน่าติดตามต่อไปว่า ประเทศสิงคโปร์จะมีบุคลากรที่มีบทบาทในโลกของการทำงานในอนาคตอย่างไร
ซึ่ง ADGES เองก็เห็นด้วยว่า เมื่อโลกเปลี่ยนไป ระบบการศึกษาก็ควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้เราสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะเติบโตมาเป็นกำลังสำคัญในอนาคตได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเพื่อสร้างคนที่มีทักษะในการทำงานที่จำเป็นในอนาคตด้วยเช่นกัน