top of page
Writer's pictureADGES

The paradox of value: เป็นไปได้หรือ เมื่อขวดน้ำมีมูลค่าสูงกว่าเพชร?


หากเปรียบเทียบระหว่างเพชรและขวดน้ำ คุณคิดว่าสิ่งไหนมีมูลค่ามากกว่า?

เชื่อว่าหลายคนต้องเลือกเพชรอย่างแน่นอน

แต่ลองจินตนาการดูว่า หากเราเกิดวิกฤติและต้องไปติดอยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้ง เพชรจะสามารถช่วยให้เรารอดชีวิตได้ไหม และเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเราจะยังคิดว่าเพชรมีมูลค่าอยู่หรือไม่?

นี่คือ ความขัดแย้งของมูลค่า (The paradox of value)

ความขัดแย้งของมูลค่า (The paradox of value) หมายถึง ความขัดแย้งกันระหว่างคุณค่าในการใช้ประโยชน์ (Use Value) กับมูลค่าในการแลกเปลี่ยนหรือราคาสินค้า (Exchange Value) โดยมูลค่าในการแลกเปลี่ยนหรือราคาสินค้านั้นจะขึ้นอยู่กับความขาดแคลน ความหามาได้ยาก ขณะที่คุณค่าในการใช้ประโยชน์จะขึ้นอยู่กับความสามารถของสินค้านั้นในการบำบัดความต้องการของมนุษย์ (Utility) เช่น ในช่วงเวลาปกติ น้ำเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่มีราคาต่ำ เพราะมีปริมาณมาก แต่ในขณะเดียวกันเพชรอาจไม่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของเรา กลับมีราคาสูงเพราะเป็นสิ่งที่หามาได้ยาก การจะตัดสินใจเลือกซื้อน้ำหรือเพชรจึงต้องพิจารณาจาก Opportunity Cost หรือต้นทุนค่าเสียโอกาสด้วย เพื่อให้เราสามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นและเราต้องการมากที่สุดในช่วงเวลานั้น เพราะเราไม่สามารถเลือกซื้อของทั้งสองสิ่งพร้อมกันได้

ลองกลับมาที่สถานการณ์จำลอง หากคุณอยู่ในทะเลทรายและมีร้านขายน้ำและร้านเพชร เราคงเลือกซื้อน้ำก่อน เมื่อมีน้ำเพียงพอแล้ว จากนั้นจึงเลือกซื้อเพชร สิ่งนี้เรียกว่า Marginal Utility เพราะเมื่อเรามีสิ่งที่จำเป็น (Need) แล้วปริมาณการซื้อของสิ่งนั้นก็จะลดลง และเลือกซื้อสิ่งที่ต้องการ (Want) มากขึ้น ตามแนวคิด Law of Diminishing Marginal Utility

บางครั้งมูลค่าของสิ่งของก็สามารถแตกต่างกันไปได้ตามสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานั้น เราต้องการอะไร ต้องการแบ่งปันสิ่งนั้นกับใคร รวมถึงความจำเป็นในการดำรงชีวิต

พัฒนากระบวนการคิดและตัดสินใจ เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับองค์กร ด้วยหลักสูตรอบรมการพัฒนาองค์กรจาก ADGES สนใจสอบถามข้อมูล e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

280 views0 comments
bottom of page