top of page
Writer's pictureADGES

7 เทคนิค เพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการจ้างงาน ในปี 2019


กระบวนการจ้างงานเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่สุดประการหนึ่งสำหรับบริษัทและองค์กรทุกแห่ง แต่การจ้างงานหลายครั้งมักประสบปัญหาทั้งความล่าช้าหรือปัญหาอื่นๆ

แต่ก็สามารถลดความล่าช้าของกระบวนการจ้างงาน แก้ปัญหางานกระจุกเป็นคอขวด รวมถึงปรับปรุงการจ้างงานให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัล ด้วย 7 เทคนิค ที่นำมาฝากในวันนี้

1. พิจารณาการนำเข้าระบบติดตามผู้สมัคร

ปัจจุบันระบบ Applicant Tracking Systems (ATS) หรือระบบติดตามผู้สมัครงานมีหลากหลายราคาให้เลือกตามงบประมาณที่เราพอใจ ระบบ ATS มีความสามารถหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการกระจายคำประกาศรับสมัครงานไปยังเว็บไซต์ หรือแม้แต่การค้นหาผู้สมัครงานจากฐานข้อมูลเว็บไซต์หางานหลายเว็บในคราวเดียว รวมถึงการค้นหาแบบระบุคีย์เวิร์ดหรือคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างที่ต้องการได้อีกด้วย

2. ตัดกระบวนการซ้ำซ้อน

บางครั้งกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนก็ทำให้เกิดความล่าช้าโดยเปล่าประโยชน์ Sharon Richner หัวหน้าฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ จาก FLIK Hospitality Group ได้เสนอแนะว่า ควรใช้วิธีการสัมภาษณ์งานโดยผู้สัมภาษณ์เป็นหมู่คณะ (Panel interviews) แทนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ทั้งนี้ก็เพื่อลดปัญหาการถามคำถามซ้ำซ้อน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สมัครและผู้สัมภาษณ์ นอกจากนี้การสัมภาษณ์ลักษณะนี้ยังทำให้เราสามารถตั้งคำถามได้ลึกขึ้น เข้าถึงแนวคิดของผู้สมัครได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

3. กำหนด “ทักษะ” ที่ต้องการ

กำหนดทักษะที่คุณต้องการจากผู้สมัครงานเอาไว้ล่วงหน้า จะช่วยทำให้การสัมภาษณ์และการพิจารณาแต่ละบุคคลมีความรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทักษะ Hard skill หรือ Soft skill รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะทางต่างๆ

4. ลด ละ เลิก ปรากฎการณ์คอขวด (Bottleneck)

แม้แต่พนักงานที่เก่งที่สุดหรือแม้แต่ผู้บริหารก็อาจเกิดอาการที่เรียกว่า “ปรากฎการณ์คอขวด” หรือ Bottleneck ซึ่งหมายถึง จุดติดขัดเมื่อต้องทำสิ่งที่ตนไม่ถนัด อย่างเช่น หัวหน้าฝ่ายการตลาดอาจเชี่ยวชาญการใช้สื่อดิจิทัลและสื่อโซเชียล แต่กับการอ่าน Resumé ของผู้สมัครงานอาจเป็นสิ่งที่จัดระเบียบได้ไม่ดีเท่าไรนัก ทางแก้คือทบทวนเป้าหมายร่วมกับทีมสรรหาและว่าจ้างอยู่เสมอ ว่าองค์กรต้องการพนักงานแบบไหน ต้องการผู้ที่มีทักษะหรือความสามารถอะไร รวมถึงทัศนคติของคนที่เราต้องการร่วมงานด้วย การกำหนดกรอบเหล่านี้ขึ้นมาจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดจุดติดขัด ทำให้อ่านประวัติย่อและคัดเลือกผู้สมัครได้ง่ายขึ้น

5. สร้างใบสมัครงานที่สั้นและเป็นมิตรกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

Irina Novoselsky ผู้เป็น CEO จาก CareerBuilder เผยว่า ผู้สมัครงาน 1 ใน 5 ราย ใช้เวลาน้อยกว่า 10 นาที ในการกรอกใบสมัครงานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หากใช้เวลานานกว่านี้พวกเขาอาจยกเลิกกลางคัน สถิตินี้แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครเข้าถึงใบสมัครงานผ่านอุปกรณ์พกพามากขึ้น การใช้ใบสมัครออนไลน์ที่สั้น กระชับ และสามารถรองรับมือถือหรืออุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ ได้เหมาะสมจึงเป็นอีกปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้

6. ไม่ขาดการติดต่อ

ถึงแม้ว่าจะได้รับใบสมัครงานออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ มาแล้วก็ตาม บริษัทควรติดต่อกับผู้สมัครโดยตรงอีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับบริษัทของเรามากขึ้น

7. ไม่ขาย “งาน” มากเกินไป

ไม่ให้ความสำคัญกับการนำเสนอเฉพาะตำแหน่งงานเท่านั้น แต่ควรให้รายละเอียดการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร หรือข้อมูลอย่างอื่นตามความจริงประกอบกันด้วย ยิ่งเราให้ข้อมูลที่ตรงกับความจริงมากเท่าไร ก็ยิ่งได้รับผู้สมัครที่ต้องการทำงานหรือเหมาะกับองค์กรของเราจริงๆ มากขึ้นเท่านั้น

พัฒนากระบวนการจัดหางานขององค์กรให้ทันสมัยและเหมาะสมกับโลกการทำงานปี 2019 ด้วยหลักสูตรบริหารทรัพยากรมนุษย์จาก ADGES สนใจสอบถามข้อมูล e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

129 views0 comments
bottom of page