นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยมานานแล้วว่า ความมีสติรู้ตัวคือสิ่งจำเป็นสำหรับการบันทึกความทรงจำหรือไม่ ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าใช่แน่นอน เพราะดูเหมือนความทรงจำดีๆ ที่เราจำได้จะเกิดขึ้นในช่วงที่เราตื่นหรือมีสติรับรู้ทั้งสิ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า มีความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ในช่วงที่ไม่มีสติรู้ตัว เช่น หากเปิดเทปคำศัพท์ใหม่ๆ ระหว่างเข้าสู่ช่วงหลับลึก สมองจะสามารถเรียนรู้และจดจำคำเหล่านั้นได้โดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่าเป็นแนวทางใหม่สำหรับการเรียนรู้ทั้งเรื่องภาษาและไวยากรณ์
“สิ่งที่เราพบในการวิจัยก็คือ สมองขณะหลับสามารถบันทึกข้อมูลใหม่และเก็บไว้ในความทรงจำระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นมันยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลขณะที่เราหลับได้อีกด้วย” ดร. Marc Züst ผู้เขียนรายงานการวิจัยประจำมหาวิทยาลัยเบิร์น (University of Bern) กล่าว
การนอนหลับและความทรงจำ
เราต่างคิดว่าการนอนหลับคือช่วงเวลาหยุดทำงานของสมอง แต่ความจริงแล้วระหว่างที่เราหลับนั้นเป็นช่วงที่สมองจะถูกชำระล้างโมเลกุลที่เป็นพิษซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดอัลไซเมอร์ และที่สำคัญก็คือ สมองจะเริ่มจัดระเบียบความทรงจำใหม่ เซลล์ประสาทที่รับหน้าที่เก็บความทรงจำจะยังคงทำงานราวกับเครือข่ายขนาดใหญ่ มันจะเลือกเก็บความทรงจำที่คิดว่ามีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับความจำส่วนอื่นๆ ขณะเดียวกันความทรงจำที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับเหตุกาณ์อื่นอาจถูกลบทิ้งไป
การวิจัยทดลองศึกษาโดยให้หนูทดลองหาทางออกจากวงกตที่มันไม่เคยเข้าไปมาก่อน การท้าทายนี้จะช่วยจุดประกายสมองให้จดจำเส้นทาง และนักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองฮิปโปแคมปัสซึ่งมีหน้าที่บันทึกความทรงจำ ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วงกลางคืนขณะที่มันหลับ
การเรียนรู้ขณะหลับ
การศึกษานี้ยังใช้กลุ่มทดลองชายและหญิงเยอรมันจำนวน 41 คน จากนั้นกำหนดคำศัพท์ใหม่ที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อนขึ้นมา และทำการเปิดเทปคำศัพท์ช่วงที่อาสาสมัคร ‘หลับลึก’ ซึ่งเป็นระดับการนอนหลับที่ไม่มีการฝัน ในการหลับระดับนี้เซลล์ประสาทจะตื่นตัวเป็นระยะ จากนั้นเมื่อไม่มีการใช้งานพวกมันจึงจะค่อยๆ สงบลง นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำข้อสังเกตนี้มาตั้งสมมุติฐานและทดลองเล่นคำศัพท์ในช่วงหลับลึกวนซ้ำมากกว่า 146 รอบ การทดสอบพบว่าอาสาสมัครสามารถจับคู่คำศัพท์ได้ถูกต้องมากกว่า 10%
“นับเป็นเรื่องแปลกเพราะจากที่เรารู้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสจะทำงานเมื่อเรามีสติอยู่เท่านั้น” Züst กล่าว “โครงสร้างสมองดูเหมือนจะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน – การบันทึกความทรงจำระหว่างที่เราตื่น และการเก็บความทรงจำในช่วงที่เราหลับลึก”
การพัฒนาตัวเองมีหลากหลายวิธี เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาบุคคลและองค์กร ด้วยหลักสูตรการอบรมจาก ADGES สนใจสอบถามข้อมูล e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/