top of page
Writer's pictureEmergenetics Thailand

7 เทรนด์การเรียนรู้ และ การพัฒนาพนักงานในปี 2019


ช่วงต้นปี เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลที่จะมองย้อนกลับไปหาผลการปฏิบัติงานของพนักงานในปีที่ผ่านมาและเริ่มวางแผนการฝึกอบรมประจำปีนี้ เพราะต้นทุนมนุษย์คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดและเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

และนี่คือ 7 เทรนด์การเรียนรู้และการพัฒนาในปี 2019 ที่เหมาะสมกับโลกยุค Tech-world ที่คุณไม่ควรมองข้าม

1. การทำงานร่วมกันของผู้บริหารระดับ C-suite และ HR เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

ข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของหลายๆ องค์กรคือขาดการวางแผนและการใส่ใจจากผู้บริหารระดับสูง (C-suite) เพราะผู้นำที่ไม่วางแผนว่าต้องการให้การฝึกอบรมประสบความสำเร็จอย่างไร ถือเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร ในวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ฝ่ายบริหารและ HR ต้องทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดคุณค่า กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่พนักงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานได้ รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาแบ่งปันประสบการณ์อย่างอิสระในวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และเป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. พัฒนาขีดความสามารถเพื่อเป้าหมายขององค์กรในอนาคต

เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กรในอนาคต ควรกำหนดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำให้แก่พนักงานที่จะก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งนี้ต่อไป รวมถึงอบรมทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหา เพื่อให้พวกเขาพร้อมรับมือกับหน้าที่ผู้นำมากที่สุด หรือแม้แต่ถ้าพนักงานปัจจุบันยังไม่พร้อม แผนกบุคคลก็สามารถเฟ้นหาผู้สมัครที่มีศักยภาพในขั้นตอนการสรรหาบุคลากรใหม่ ทั้งนี้ เมื่อพนักงานใหม่ที่ได้รับการสรรหาเข้ามาในฐานะผู้นำหรือผู้จัดการคนใหม่เริ่มเข้าทำงานในบริษัท ผู้บริหารควรให้การฝึกอบรม หรือให้คำแนะนำ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้เร็ว การพัฒนาทักษะเหล่านี้ของผู้บริหารจะช่วยให้คุณสามารถสร้างทีมที่คล่องตัวและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

3. มุ่งเน้นทักษะการสื่อสาร

เมื่อองค์กรเติบโตและมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้นำของบริษัทจะเห็นคุณค่าของการพัฒนาทักษะ Soft skill มากกว่าเดิม เช่น การพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ การทำงานร่วมกันและเจรจาต่อรอง ผลจากการสำรวจ ของ Deloitte ในปี 2016 มากกว่า 90%ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าทักษะด้านอารมณ์หรือ Soft skill นั้นช่วยเพิ่มอัตราการคงอยู่ของพนักงานกับองค์กร พัฒนาความเป็นผู้นำและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความหมาย

4. เพิ่มการเรียนรู้ด้วยเกม (Gamification) ในการฝึกอบรม

ผู้นำหลายคนอาจคิดว่าการเพิ่มเกมเข้ามาในการฝึกอบรมนั้นเป็นเรื่องไร้สาระ แต่ความเป็นจริงแล้วระบบของเกมอย่างป้ายชื่อ คะแนน ตารางเปรียบเทียบคะแนน (Leaderboard) และการแข่งขันเล็กๆ น้อยๆ มีส่วนช่วยให้ผู้เข้าอบรมเกิดแรงจูงใจและให้ความสนใจในหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ มากขึ้น

5. มอบการอบรมที่เป็นประโยชน์แก่พนักงาน เพื่อดึงดูดลูกจ้างที่มีความสามารถ

หลายครั้งเมื่อผู้สมัครมองหางานใหม่ พวกเขามองหาองค์กรที่สามารถมอบการฝึกอบรมที่มีคุณภาพและสามารถพัฒนาพวกเขาทั้งด้านส่วนตัว และอาชีพการงานได้ เช่นเดียวกับการจูงใจให้พนักงานที่มีความรู้และมีความสามารถให้รู้สึกมีส่วนร่วมและอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ คุณต้องมอบการฝึกอบรมให้กับพวกเขา อาจทำให้การอบรมเป็นเหมือนสวัสดิการเช่นเดียวกับ การวางแผนเกษียร การให้ประกันสุขภาพ ที่หรือสวัสดิการอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

6. ให้ความสำคัญกับการอบรมแบบผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางเท่ากับการอบรมที่มุ่งเน้นเนื้อหา

ในอดีตการฝึกอบรมอาจมุ่งไปที่เนื้อหาของหลักสูตรเพียงอย่างเดียวโดยผู้ฝึกอบรมทุกคนเรียนรู้โดยใช้เนื้อหาเดียวกัน แต่ปัจจุบันเรามุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสามารถ และอิทธิพลของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อผู้เข้าอบรมมากขึ้น แล้วจึงออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพวกเขา จากนั้นจึงให้ผู้เข้าอบรมแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้สู่ผู้อื่นต่อไป

7. เนื้อหาแบบ Digital และการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือกลายเป็นช่องทางใหม่ที่สำคัญกว่าทีเคยเป็นมา

จากการศึกษาของ LinkedIn ในปี 2018 ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการพัฒนาความสามารถคือ การทำให้พนักงานใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นการนำเสนอหลักสูตรการอบรมผ่านแพลทฟอร์มที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือการเรียนแบบ On-demand จึงเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับพนักงานที่ยุ่งจนไม่มีเวลาให้กับการเรียนรู้

เทรนด์การเรียนรู้และการพัฒนาทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมา ช่วยให้เรามองเห็นว่ากระแสการฝึกอบรมในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ช่วยให้เราออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร

สนใจการอบรมและพัฒนาบุคลากรในบริษัท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ADGES

e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

149 views0 comments
bottom of page