top of page
Writer's pictureBuro Brand Asia

การคิดด้วยภาพ (Visual Thinking) คือกลยุทธ์ที่ดีกว่า สำหรับการเรียนรู้ในองค์กร


จากหนังสือ ‘Visual Thinking Strategies’ โดย Philip Yenawine กล่าวไว้ว่า ทางเลือกในการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับการแบ่งปันความรู้สึกและแรงผลักดันด้านการศึกษา วิธีการแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่จะให้การป้อนข้อมูลผ่านชีท หนังสือเรียน หรือการนำเสนอพรีเซนเทชั่น แต่จากงานวิจัยเผยว่าหลังจบการอบรม ผู้เรียนกลับได้รับความรู้ส่วนที่สำคัญน้อยมาก แม้ว่าพวกเขาจะเป็นคนฉลาดแค่ไหนก็ตาม

แต่การเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนหรือมหาวิทยาลัยอีกต่อไป ในการทำงานเราเองก็สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่จากสถานการณ์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา เช่น เรียนรู้แนวทางใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกัน เรียนรู้จากพนักงานต่างชาติ เรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก แลกเปลี่ยนกลยุทธ์ภายในองค์กร หรือแม้แต่การเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานเป็นทีม ซึ่งการเรียนรู้ที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยข้อมูลเหล่านี้ อาจนำเสนอออกมาได้ดีกว่าเมื่อใช้กลยุทธ์การคิดด้วยภาพ (Visual Thinking Strategies)

กลยุทธ์การคิดด้วยภาพ (Visual Thinking Strategies) คืออะไร

Philip Yenawine คือผู้พัฒนากลยุทธ์การคิดด้วยภาพ (Visual Thinking Strategies: VTS) ขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อนผ่านการเรียนร็ด้วยศิลปะในพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากต้องการให้ผู้ชมงานศิลป์ได้เรียนรู้และเข้าถึงภาพต่างๆ ได้ดีขึ้น แทนวิธีการใช้เสียง แผ่นพับหรือโบรชัวร์แนะนำตามปกติ จากข้อมูลเชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์การเรียนรู้และจิตวิทยา พวกเขาพัฒนาวิธีการเพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สำรวจงานศิลปะด้วยตัวเองกับกลุ่มเพื่อน โดยใช้การตั้งคำถาม 3 ข้อ คือ เกิดอะไรขึ้นในภาพ คุณมองเห็นอะไรจึงตอบแบบนั้น และเราสามารถมองหาอะไรจากมันได้อีก คำถามทั้งสามข้อเป็นคำถามปลายเปิดที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังกล้ามีส่วนร่วมในการมองหาคำตอบและการพูดคุย คำถามแบบ VTS จึงไม่ใช่การเรียนรู้แบบเดิม แต่เป็นการทำให้การพูดคุยในกลุ่มเป็นเรื่องง่ายขึ้น

ทำไมกลยุทธ์การคิดด้วยภาพจึงใช้งานได้ดี

1. ทำให้คนรู้สึกกระตือรือร้นที่จะหาคำตอบของหัวข้อที่พวกเขาได้รับ และตื่นเต้นกับการค้นหาคำตอบที่รออยู่

2. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มช่วยให้เกิดการสังเกตการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เกิดการเติมเต็มช่องว่างของคำตอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยิ่งมีการทำกิจกรรมด้วยกลยุทธ์การคิดด้วยภาพมากขึ้นเท่าไร สมาชิกกลุ่มก็ยิ่งมีความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆ

3. กลยุทธ์การคิดด้วยภาพช่วยกระตุ้นให้คนที่มีลักษณะเงียบหรือไม่ค่อยพูด กล้าแสดงความคิดเห็นรวมถึงมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น

4. จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้รูปแบบนี้คือศิลปะ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้คนได้ดี

5. กระบวนการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับผู้เข้าร่วมได้เป็นอย่างดี

การใช้กลยุทธ์การคิดด้วยภาพในองค์กร

เราสามารถนำหลักกลยุทธ์การคิดด้วยภาพมาใช้งานได้ทุกที่รวมถึงในองค์กรด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเพื่อการประเมินผลแบบกลุ่ม การจับคู่ระหว่างพนักงานใหม่และพนักงานที่มีประสบการณ์ในการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ทักษะใหม่โดยใช้วิธีแสดงบทบาทสมมติหรือการตั้งคำถามแบบ VTS การทบทวนเหตุการณ์สำคัญ เป็นต้น

มนุษย์มีความรู้ดั้งเดิมอยู่ภายในตัวเอง นอกจากนี้เรายังมีศักยภาพในการทำงานร่วมกัน กลยุทธ์การคิดด้วยภาพเป็นหนึ่งวิธีที่สามารถกระตุ้นสิ่งเหล่านั้นให้แสดงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในองค์กรหรือเพื่อเพิ่มทักษะสำหรับแต่ละบุคคลก็ตาม

เรียนรู้กลยุทธ์และเทคนิคการคิดด้วยภาพ (Visual Thinking) ด้วยหลักสูตรการอบรมจาก ADGES สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

299 views0 comments
bottom of page