top of page
Writer's pictureADGES

งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ขับเคลื่อนด้วย ‘การวิเคราะห์’ มากที่สุด จริงหรือไม่?


ในอดีตเราอาจโต้เถียงกันว่างานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือ Human Resources: HR นั้น มีปัจจัยหลักคือศักยภาพที่นำไปสู่การเป็นผู้นำด้านการวิเคราะห์ แต่ปัจจุบันผลสำรวจจาก Oracle บริษัทฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เผยว่า HR คือหนึ่งในงานที่ขับเคลื่อนด้วยทักษะและต้องใช้การวิเคราะห์มากที่สุดในโลกของธุรกิจ

แม้แต่งานด้านการเงินยังอาจใช้การวิเคราะห์น้อยกว่าเล็กน้อยด้วยซ้ำ ฝ่าย HR หลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับการนำเข้าเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์เพื่อนำมาพัฒนาการวิเคราะห์ในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น

และนั่นคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตลอดสิบปีที่ผ่านมา Thomas H. Davenport ศาสตราจารย์พิเศษด้านการบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำมหาวิทยาลัย Babson College และนักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลประจำ MIT กล่าวว่า จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้เขาเริ่มหันมาศึกษาความสามารถเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ซึ่งในเวลานั้นองค์กรที่มีการวิเคราะห์ด้านทรัพยากรมนุษย์อันซับซ้อนที่เขาและทีมงานสามารถเปิดเผยได้มีเพียง Google และ Caesars เครือโรงแรมและคาสิโนชื่อดังที่ลาสเวกัส

มีองค์กรไม่กี่แห่งเท่านั้นที่มีบุคลากรด้าน HR ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์โดดเด่น ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะคิดว่าการวิเคราะห์ด้านทรัพยากรมนุษย์คือการตอบคำถามว่ามีพนักงานมากแค่ไหนในองค์กร หรือวิธีการที่ดีที่สุดในการวัดผลการมีส่วนร่วมของพนักงาน

Thomas H. Davenport ได้ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,510 รายใน 23 ประเทศของ 5 ทวีป โดยให้แบบสอบถามกับผู้จัดการอาวุโส ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ โดยกลุ่มตัวอย่างอยู่ในฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ 61% ฝ่ายการเงิน 28% และบริหารงานทั่วไป 10% ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกลุ่มบริษัทที่มีมูลค่า 100 ล้านดอลล่าร์ขึ้นไป

และผลสรุปของแบบสอบถาม มีดังนี้

  • 51% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากฝ่ายทรัพยากรมนุษย์กล่าวว่า พวกเขาสามารถทำการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์หรือการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ขณะที่มีเพียง 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามด้านการเงินเท่านั้นที่สามารถดำเนินการวิเคราะห์ขั้นสูงกว่านี้ได้

  • 89% เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ฝ่ายทรัพยากรทนุษย์ในองค์กรของตัวเองมีความเชี่ยวชาญสูงในการใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดแผนแรงงานในอนาคต (เช่น ความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถ) มีผู้ไม่เห็นด้วยเพียง 1%

  • 94% เห็นด้วยว่า พวกเขาสามารถคาดการณ์โอกาสในการพลิกบทบาทที่สำคัญ และมีความเชื่อมั่นในระดับสูงต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

  • 94% ยังคงเห็นด้วยว่า องค์กรของพวกเขามีความเข้าใจถูกต้องในการทำตามเป้าหมายและการพัฒนาด้านอาชีพ

  • สำหรับคำถาม “จากตัวเลือกต่อไปนี้ คุณใช้เครื่องมืออะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล“ คำตอบที่ถูกเลือกมากที่สุดคือการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI โดยมีอัตราส่วนสูงถึง 31%

  • เมื่อถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน AI ในองค์กร คำตอบส่วนใหญ่คือ ระบุความสามารถที่กำลังมีความเสี่ยงผ่านแบบจำลอง และการมองหาผู้สมัครงานที่เหมาะสมที่สุดด้วยการวิเคราะห์ประวัติย่อ

จากแบบสำรวจแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการวิเคราะห์และการประเมินของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับสูงเกือบทุกภูมิภาคของโลก แต่ทวีปที่มีสถิติต่ำกว่าภูมิภาคอื่นคือ เอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย ส่วนทวีปอเมริกา ตะวันออกกลางและละตินอเมริกานั้นจะมีสถิติสูงกว่า

ส่วนการพิจารณาจากอุตสาหกรรมค่าสถิติที่ได้อยู่ต่ำสุดสำหรับอุตสาหกรรมอยู่ในหมวดโรงแรม การท่องเที่ยว และสื่อบันเทิง ส่วนหมวดที่มีค่าสถิติสูงคือธุรกิจด้านพลังงาน การขายส่ง และสินค้าอุปโภคบริโภค

แน่นอนว่าทักษะการวิเคราะห์คือสิ่งสำคัญที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ทุกองค์กรควรเปิดรับและให้ความสำคัญ เราอาจใช้วิธีเพิ่มขีดความในทักษะนี้ ด้วยการส่งเสริมให้พนักงาน HR เข้าใจการวิเคราะห์เชิงปริมาณและส่งเสริมทักษะเกี่ยวกับการใช้เหตุผลมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรและอาจช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้

สนใจหลักสูตรพัฒนาบุคลากร เพื่อก้าวสู่การเป็น HR ยุคใหม่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ADGES e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

220 views0 comments
bottom of page