top of page
Writer's pictureADGES

4 ขั้นการวิเคราะห์กำลังคน...องค์กรของคุณอยู่ขั้นไหน?

cr. Cornerstone On Demand

หากพูดถึงการตั้งเป้าหมายช่วงปีใหม่ ‘การวิเคราะห์กำลังคน (Workforce analytics)’ ควรเป็นสิ่งแรกที่ HR ให้ความสำคัญ

อุตสาหกรรมบริหารจัดการผู้มีความสามารถมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับการวิเคราะห์กำลังคนมานานแล้ว แต่ในปี 2016 ที่ผ่านมาเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่สู่ความสามารถในการเข้าถึง Big data อย่างแท้จริง องค์กรเปลี่ยนจากการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนขั้นที่ง่ายที่สุดอย่าง “การอธิบายและวินิจฉัย" มาเป็นขั้นตอนที่ใช้ “การวิเคราะห์เชิงทำนาย” มากขึ้น

เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง HR ต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบที่ทันสมัยที่สุด นั่นก็คือ Prescriptive analytics แต่การจะนำวิธีการใหม่ล่าสุดนี้มาใช้ได้นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ต้องรู้ว่าพวกเขาอยู่ขั้นไหนในช่วงการวิเคราะห์รวมถึงวิธีการพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ของตน

และนี่ก็คือ 4 ขั้นตอนการวิเคราะห์กำลังคนและมูลค่าเพิ่มที่แต่ละขั้นตอนมอบให้กับองค์กรของคุณ

ขั้นที่ 1 : อธิบายปัญหา (Descriptive Analytics ) และ ขั้นที่ 2 (Diagnostic Analytics)

เมื่อองค์กรเริ่มวิเคราะห์การวิเคราะห์กำลังคนเป็นครั้งแรกข้อมูลเชิงลึกส่วนใหญ่จะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตาม Talent Analytics Maturity Model ของ Bersin by Deloitte

บริษัท HR Solution Providers ระดับโลก ซึ่งขั้นตอนแรกนี้เรียกว่าเฟสของ "Descriptive and Diagnostic Analytics " การค้นหาข้อมูลของทีมจะขึ้นอยู่กับคำสั่งจากหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือหัวหน้าฝ่ายอื่น ๆ และมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การระบุแนวโน้มความสามารถในปัจจุบัน เช่น อัตราการเทิร์นโอเวอร์สูง เป็นต้น

ปัญหาก็คือ ในขณะที่การวิเคราะห์แบบ Descriptive and Diagnostic Analytics ช่วยระบุปัญหาปัจจุบันที่ทีมของคุณอาจขาดหายไป แต่มันกลับไม่ช่วยป้องกันหรือแก้ปัญหาเหล่านั้น

ขั้นที่ 3: ทำนายปัญหา (Predictive Analytics)

หากองค์กรใช้วิธีระบุปัญหาด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงว่าถึงเวลาแล้วที่คุณต้องคิดเชิงรุกมากขึ้น

แทนที่จะระบุแค่สถานะปัจจุบันของพนักงาน องค์กรสามารถใช้ "Predictive Analytics" เพื่อกำหนดแนวโน้มในอนาคตและทดสอบการวิเคราะห์แบบ "What-if" เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของการตัดสินใจก่อนที่จะนำไปใช้

ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจสำรวจข้อมูลที่ว่า "หากเราเพิ่มการจ่ายค่าล่วงเวลา จะลดอัตรา Turnover ได้หรือไม่?”

ขั้นที่ 4: แก้ไขปัญหา (Prescriptive Analytics)

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาใช้ได้จริง องค์กรควรตั้งเป้าหมายที่จะใช้รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงสุด นั่นคือ "Prescriptive Analytics" ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับองค์กร

ที่มาพร้อมกับแผนสำรองข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้จริงและสามารถนำเสนอต่อ HR เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดกลยุทธ์และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กรได้อีกด้วย

สนใจ Cloud-based platform จาก Cornerstone ที่ช่วยพัฒนาการวิเคราะห์กำลังคนและมองหาข้อมูลเชิงลึกของพนักงานเพื่อนำมาแก้ปัญหาให้กับองค์กร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

500 views0 comments
bottom of page