top of page
Writer's pictureNat Kulnides

Visual Thinking in Business Settings (การคิดขั้นตอนทางธุรกิจเป็นแบบรูปภาพ 9 ขั้นตอน)


ความจริง ตัวเลข แผน วิธีการ งบประมาณและวันกำหนดส่งงาน เป็นปัจจัยที่คอยควบคุมบรรยากาศในที่ทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะทำงานด้านเทคโนโลยี การเงิน ภาครัฐ สุขภาพหรือสายการผลิต

Visual Thinking เป็นเครื่องมือหนึ่งซึ่งสามารถช่วยให้คุณและเพื่อร่วมงานของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาศัยภาพประกอบเข้ามาช่วย

มันไม่แปลกถ้าคุณจะลองมองกลับไปยังโปรเจคที่ผ่านๆมาและนึกได้ว่าคุณลืมที่จะมองโปรเจคเหล่านั้นโดยภาพรวมอีกครั้งหนึ่งในตอนที่จะปิดงาน

เราแนะนำ 9 ขั้นตอนในการทำให้ทุกคนในบริษัทสามารถเข้าใจตรงกันว่าเป้าหมายที่แท้จริงของทีมคืออะไร?

Visual Thinking and Collaboration Techniques สามารถช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายได้เร็วมากขึ้นโดยการ “ระดมสมอง (Whole Brain Function)” ของพนักงานทุกคน ซึ่งในบทความนี้ คุณจะได้รู้ถึงเทคนิคต่างๆรวมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้จริงในแต่ละขั้นตอน

1. กำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน (Sharping Your ,Vision Looking For Purpose)

การกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์คือขั้นตอนแรกในการทำให้ทีมบรรลุเป้าหมาย แต่องค์กรส่วนใหญ่ต่างก็มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเอาไว้แล้ว แต่การที่จะสื่อถึงเป้าหมายและวิสัยทัศน์ออกไป การใช้เพียงแค่คำพูดเพียงอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ ดังนั้นอาจจะมีการนำภาพเข้ามาช่วยเพื่อความชัดเจนมากขึ้น

2. การตั้งเป้าหมายและการวางแผนกลยุทธ์ (Goal Setting ,Strategic Planning)

การตั้งเป้าหมายให้กับตนเองเป็นเรื่องที่ดี แต่บางทีถ้าเกิดตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป คุณอาจจะต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิม

Jack Welch เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้นำที่ดีจะมีการกำหนดวิสัยทัศน์และเชื่อมโยงวิสัยทัศน์เข้าด้วยกัน มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานที่ตั้งไว้ให้สำเร็จโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย”

แต่ประเด็นหลักคือ คุณจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้วิสัยทัศน์ของคุณสำเร็จได้แม้จะต้องอยู่ในโลกการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์กรจึงจะเป็นที่จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ ด้วยเหตุนี้คุณอาจจะนำ Visual Thinking เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ปัญหาของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้น

3. การแบ่งปันข้อมูลและการเข้าถึงวัตถุประสงค์ (Information Sharing ,Reach Objectives)

การประชุมกันภายในองค์กรเป็นการแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน The Stand Up เป็นวิธีการจัดการโปรเจคแบบใหม่ที่เรียกว่า Agile Scrum (คิดค้นโดย Ken Schwaber และ Jeff Sutherland) ซึ่งเป็นการนำทีมหลายๆทีมมาทำงานร่วมกันเป็นระยะๆในเวลาอันสั้น

The Stand Up เปิดโอกาสให้แต่ละทีมมารวมกันและแชร์ถึงเป้าหมายและจุดประสงค์ของทีมตัวเอง และแต่ละทีมยังสามารถบอกเล่าถึงปัญหาตามที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น

ดังนั้น Stand Up จึงเป็นการรวมทีม(โปรเจค) เพื่ออัตเดทการทำงานของแต่ละทีมในระยะเวลาอันรวดเร็ว ไม่เพียงแค่นั้น The Stand Up ยังเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแชร์ข้อมูลไปยังทีมอื่นๆในองค์กร เช่น Spotify มีการใช้ ‘Scrum of Scrums’ เพื่อแจ้งข้อมูลต่างๆของทีมรวมกัน

4. การตัดสินใจและการเปรียบเทียบตัวเลือกที่มี (Decision Making, Comparing Options)

ทุกวันนี้การตัดสินใจเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการตัดสินบางอย่างอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ หรือจะเป็นการตัดสินใจในเรื่องง่ายๆอาทิการเลือกเมนูซุป

ในปัจจุบันหุ่นยนต์สามารถช่วยเราตัดสินใจได้แล้ว แต่เราจะรับมือกับกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอัตโนมัติซะส่วนใหญ่ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น คุณอาจจะลองนำวาดเป็นแผนภาพออกมาอาจจะช่วยให้คุณสามารถมองภาพในมุมกว้างและจัดระเบียบข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น

5. การสำรวจตลาดและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า (Exploring Markets, Customer Insight)

ทุกวันนี้องค์กรต่างๆกำลังพยายามพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและสร้างฐานลูกค้าประจำ การสำรวจว่าลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของคุณ คุณจะต้องรู้จักพวกเขาก่อน จึงจะเข้าใจว่าเขาต้องการอะไร การนำภาพมาประกอบในขั้นตอนนี้สามารถช่วยให้คุณสำรวจตลาดได้ง่ายขึ้นและหาข้อมูลในเชิงลึกของลูกค้าได้ดีขึ้นเช่นกัน

6. การริเริ่มความคิดสร้างสรรค์และการฝึกออกแบบ (Idea Generating, Design Workshops)

ความคิดสร้างสรรค์และการฝึกออกแบบเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับบริษัทของคุณ ไอเดียใหม่ๆมักจะเกิดจากความท้าทาย ในโลกธุรกิจความท้าทายที่สุดคือ ทำอย่างไรเราถึงจะสนองความต้องการของลูกค้าและยังต้องพยายามทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาด้วย

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาคุณจึงควรที่จะเริ่มที่จะทำ Visual Thinking เพื่อให้คุณเข้าใจชัดเจนมากขึ้น

7. การแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Problem Solving, Continuous Improvement)

ทุกวันนี้โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ (AI) หรือ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองและทางกฎหมาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เองทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆไม่สามารถที่จะอยู่กับที่ได้ ดังนั้นเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

8. การทดลองทำผลิตภัณฑ์ (Prototyping Experimenting)

มีหลายองค์กรที่เปลี่ยนวิธีการในการพัฒนาสินค้าหรือบริการจากแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยวิธีใหม่นี้เรียกว่า Build-Measure-Learn Approach (ตัวอย่างวิธีนี้เช่น Lean Startup, Design Thinking and Agile Scrum) เป็นการเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเองโดยการทดลองทำจริงๆแล้วนำข้อผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น

การทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (Minimum Viable Products หรือ MVP) เป็นการทดลองนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ได้ผลิตจริงๆออกไปวางจำหน่ายจริงๆเพื่อดูการตอบรับจากลูกค้า จากนั้นนำสิ่งที่ได้จากลูกค้าจริงๆมาสร้างสิ่งที่ดีมากขึ้นและทำลักษณะนี้วนไปเรื่อยๆ

9. การสร้างทีมงานและประสิทธิภาพของทีม (Teambuilding, Team Performance)

ทีม คือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มารวมกันเพื่อทำงานร่วมกัน ทีมที่มีประสิทธิภาพมักเริ่มจากความเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพวกเขาต่างมีความตั้งใจที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันและทุกคนต่างรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีการสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอแบบชเปิดเผยและตรงประเด็น ทีมเหล่านี้มักจะประกอบไปด้วยคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะความสามารถที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาได้

หากคุณสนใจว่าเครื่องมือ Visual Thinking จะช่วยพัฒนาองค์กรของคุณให้ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ADGES e-mail: marketing@adges.net หรือ (+66)088-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://www.adges.net/

165 views0 comments
bottom of page