top of page
Writer's pictureDr.Nattavut Kulnides

A Coach's rule for life - Patrick Mouratoglou

Updated: Dec 17, 2020



'ครั้งหนึ่ง Coach เทนนิสชื่อดังชาวฝรั่งเศสอย่าง Patrick Mouratoglou ได้บอกกับ Serena Williams ว่าเธอเป็นพวก Underachiver หรือ เป็นคนที่มีพรสวรรค์แต่ทำอะไรไม่สำเร็จตามศักยภาพที่ตัวเองมี'


ข้อดีของการที่เราต้องอยู่กับ COVID แล้วยังมีเรื่องฝุ่น PM 2.5 มาแถมอีกก็เลยทำให้เราไม่ค่อยอยากเดินทางออกไปที่ไหนโดยไม่จำเป็นเท่าไร ผมก็เหมือนกันช่วง COVID จะมีโอกาสได้ดู Netflix ให้คุ้มกับเงินที่จ่ายให้ทุกเดือน ด้วยความที่เป็นคนพี่ชอบเล่นกีฬาโดยเฉพาะเทนนิส ทำให้เห็นผมจำชื่อ Patrick Mouratoglou ได้เพราะว่าเป็นโค้ชของ Serena Williams มาหลายปี


Netflix เพิ่งมีซีรีย์ใหม่ที่เรียกว่า A Coach’s Rules for Life เป็นการทำหนังสารคดีที่เอา Coach ชื่อดัง ที่พาทีมให้ประสบความสำเร็จอย่างเช่น Jose Mourinho ที่เรารู้จักกันดี หรือโค้ชทีมฟุตบอลหญิงของอเมริกาทีม World Cub โดยถอดบทเรียนโค้ชว่าอะไรเป็นหลักการที่โค้ชคิดถึง และได้เรียนรู้จากการได้โค้ชนักกีฬาดังๆและทีมกีฬาชั้นนำของโลก


ต้องบอกว่าในบทบาทของ Executive Coach ที่ผมได้ทำอยู่รวมถึงการเป็นผู้บรรยายในเรื่องของ Leadership ทำให้ผมมองบทบาทที่สำคัญของการเป็นโค้ชที่แตกต่างออกไปจาก Life Coach ทั่วๆไป โดยส่วนตัวได้มีโอกาสเรียนทักษะการโค้ช มีคำพูดหนึ่งที่โค้ชพูดได้น่าสนใจน่าสนใจมากก็คือ สิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นโค้ชคือ โค้ชเป็นวิธีชีวิต มากกว่าแค่เป็นสิ่งที่เราทำ (Coaching is the way of being, rather than doing) เรามาเรียนรู้พร้อมกันนะครับว่าอะไรที่เป็นกฎเหล็ก 6 ข้อที่ Patrick ได้ใช้ในการสร้างนักเทนนิสดังๆหลายคน ตัว Patrcik เองถือว่าเป็นโค้ชเทนนิสที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการเทนนิสเลยก็ว่าได้


Rule No. 1: Your Greatest Weakness can become your greatest strength


ตอนเด็กๆ Patrick เป็นคนที่ขี้อายมากและยังมีปัญหาในเรื่องของการสื่อสาร ในวัยเด็กทุกวันเขาขอแต่ว่าอย่าให้ใครเข้ามาคุยกับเขาเลย ครอบครัวเขาต้องส่งไปหาจิตแพทย์ซึ่งในหนึ่งปีที่เขาไปหาจิตแพทย์แทบจะทุกอาทิตย์ เขาไม่เคยพูดอะไรเอามาเลย ซึ่งถ้าจะมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นข้อด้อยของเขา ก็คงได้เป็นข้อด้อยของเขาที่ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับผู้คนได้ดั่งใจที่ตัวเองต้องการ แต่สิ่งเหล่านี้ได้สร้างทักษะพิเศษของเขาที่คนอื่นไม่มี นั่นก็คือความสามารถที่จะอ่านผู้คนจากการสังเกต Patrick เล่าว่าภาษากาย สำเนียงภาษาพูด ลักษณะท่าทาง มักจะมีความหมายแฝงมากกว่าสิ่งที่คนจะต้องการสื่อสารออกมา เขายังบอกว่าเรายังชินกับการที่จะสร้างภาพลักษณ์และเอาตัวปลอมมา


ทักษะการเป็นโค้ชที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือความสามารถในการอ่านภาษาที่ไม่ได้พูดออกมา ยิ่งไปกว่านั้นความสามารถที่จะสร้างความมั่นใจนักกีฬา Patrick มองเห็นถึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ ในวันที่ Serena ได้แชมป์ Grand Slam Serena ได้พูดขอบคุณ Patrick เรื่องของการเห็นศักยภาพและการเชื่อมั่นในตัวเธอ แม้ว่าในวันนั้นเธออาจจะตั้งคำถามในเรื่องความสามารถของเธอ และไม่คิดว่าตัวเองจะสามารถกลับมาในจุดสูงสุดได้อีกครั้งหนึ่ง



Rule No. 2: Never be afraid to get fired


'โค้ชที่ดี ไม่ควรกลัวที่จะถูกไล่ออก'


คือโค้ชก็มีหน้าที่ที่จะต้องดึงเอาศักยภาพของนักกีฬาออกมา ไม่ใช่ว่าจะคอยแต่พูดในสิ่งที่นักกีฬาอยากฟังแต่ไม่ได้สร้างการพัฒนาให้เกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานกับนักกีฬาซึ่งเป็นคนที่ชอบแข่งขัน ถ้านักกีฬาเรานั้นรู้สึกได้ว่าโค้ชมีความกลัวก็จะไม่ยอมรับและคิดว่าโค้ชเป็นพวกขี้ขลาด


Serena ไม่เคยมีโค้ช มีแต่พ่อที่โค้ชใช่ตั้งแต่เด็ก Patrick เองก็อยากที่จะโค้ช Serena เพราะเชื่อว่าจะเป็นนักกีฬาเทนนิสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก และยังแอบเชื่อเล็กๆว่าโอกาสนั้นคงจะเป็นจริงสักวัน ในปี 2012 Serena ได้ประสบอุบัติเหตุในการแข่งขันเทนนิส แถมยังโชคร้ายที่ลิ่มเลือดหลุดเข้าไปในปอดเธอ จนเธอแทบจะเอาชีวิตไม่รอด Serena กลับมาเล่นเทนนิสอีกครั้งในปี 2012 และในรายการ Grand Slam อย่าง French Open Selena กลับตกรอบแรกของการแข่งขัน ในวันถัดไป Patrick ได้รับข้อความจาก Selena ว่าอยากจะให้เขาเป็นโค้ช เมื่อเจอกันครั้งแรก Selena ได้ตั้งคำถามกับ Patrick ว่า 'เธอควรจะทำอย่างไรแล้วตอนนี้ฉันเล่นเป็นอย่างไร' Patrick รู้ว่าเขามีโอกาสแค่ครั้งเดียวที่จะตอบคำถามให้โดนใจนักเทนนิสอันดับ 1 ของโลก สิ่งที่เขาตอบก็คือเขาคิดว่า Serena เป็น พวกที่มีพรสวรรค์แต่กลับใช้มันอย่างไม่เต็มศักยภาพหรือที่เรียกว่าพวก Underachiever


ซึ่ง Serena พอได้ยินคำตอบแบบนี้ ก็คงจะทำใจลำบากพอสมควร Serena ชนะรายการระดับ Grand Slam มากกว่า 13 รายการ แต่ Patrick เชื่อว่า Selena สามารถจะได้มากกว่านี้อาจจะเป็น 26 รายการด้วยซำ้ เขายังบอกกับ Serena ว่า หลายครั้งเขาเห็น Serena มาแข่งโดยไม่ได้เตรียมตัวมาดีพอ หรือไม่ได้มีแผนสำรองใดๆ และที่สำคัญเขารู้สึกว่า Serena แพ้ง่ายเกินไป แน่นอนที่สุดคงไม่เคยมีใครพูดกับ Serena แบบนี้ แต่ตัว Serena ก็ชอบที่จะลองของและทดสอบโค้ชคนใหม่ของเธอ


โดยในการเตรียมการแข่งขัน Wimbledon ครั้งหนึ่ง Serena เข้าไปซ้อมสายแล้วกลับมองข้ามและไม่ยอมพูดคุยทักทายกับ Patrick ตัว Patrick รู้สึกว่า Serena ไม่ได้ให้เกียรติเขาและไม่ยอมฟังในสิ่งที่เขาโค้ช เมื่อถึงเวลาพัก Patrick เดินเข้าไปหา พร้อมทั้งตบโต็ะด้วยหมวกเพื่อเรียกความสนใจ แล้วพูดกับ Serena ว่าถ้าไม่ให้เกียรติกันแบบนี้จะไม่เป็นโค้ชให้ ซึ่งหลังจากนั้น Serena ก็ยอมรับในความกล้าของ Patrick และก็เชื่อฟัง Patrick มาโดยตลอด



Rule No. 3: Mistakes are Inevitable but don’t let them define you


เมื่อเราพูดถึง Serena เรามักที่จะนึกถึงตอนที่เธอถึงชัยชนะรายการใหญ่ๆมาโดยตลอด แต่หลายคนยังนึกถึงจุดด่างพลอยของเธอในการแข่งขัน US Open ในปี 2018 ที่ Serena โดนปรับไปกว่า 17,000 เหรียญ ซึ่งสาเหตุมาจากที่ Patrick ได้พยายามโค้ชเธอนอกสนามซึ่งผิดกติกาการแข่งขัน ถึงแม้ว่า Serena จะบอกกับกรรมการว่าเธอยอมแพ้มากกว่าที่จะโกงการแข่งขัน แต่นั้นจุดเริ่มที่ทำให้ Serena ทะเลาะกับกรรมการจนควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ทำให้คู่แข่งของเธอนั่นก็คือ Naomi Osaka ได้รับชัยชนะไปอย่างไม่ยากแต่ไม่สวยงามและไม่ถูกใจคนดูชาวอเมริกันเท่าไร ซึ่งหลังจากการแข่งขันมีนักข่าวมาถาม Patrick ว่าได้โค้ช จริงๆหรือไม่ Patrick ก็ออกมายอมรับว่าได้ทำจริงๆแล้วก็รู้สึกเสียใจที่เป็นจุดเริ่มที่ทำให้ Serena ทะเลาะกับกรรมการจนควบคุมอารมณ์ไม่อยู่และพ่ายแพ้ไปในที่สุด



Patrick บอกว่าบางครั้งความล้มเหลวและความสับสนสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับคนทั่วเป็นอย่างเราๆ ถึงแม้ว่าความผิดผลาดจะเกิดขึ้นไปแล้ว แต่ก็อย่าเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นตัวตัดสินว่าคุณคือใคร


Rule No. 4: Emotions are the worst advisor


Patrick อยากให้คนที่เขาโค้ชได้บรรลุถึงความฝันที่ตั้งเอาไว้ การโค้ชเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เขาเข้าใจความรู้สึกคนอื่น และมีส่วนร่วมในการที่ช่วยให้คนนั้นทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อเราใช้เวลาทำในสิ่งที่เรารักเรามักที่จะเอาอารมณ์มาเป็นส่วนร่วมด้วย การทำงานโดยการมี passion ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิด แต่ถ้าเรานำเอาอารมณ์มาร่วมในการตัดสินเราอาจจะตัดสินใจพลาดได้ ซึ่งสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะทำ


Patrick ได้พบกับนักเทนนิสดาวรุ่งชาว Cypus ชื่อ Marcos Baghdatis เมื่อเขาอายุเพียง 13 ปีและรู้สึกว่ามีอะไรพิเศษในเด็กผู้ชายคนนี้ เขาเชื่อว่าสักวันหนึ่งน่าจะเป็นนักเทนนิสระดับโลกได้ เขาเลยชวน Marcos ให้มาเรียนที่โรงเรียนชนิดของเขาโดยออกทุนให้เรียน Marcos เป็นมากกว่านักเรียนของเขาอาจจะเรียกได้ว่าเขามีความรู้สึกพิเศษกับ Marcos และคิดว่าเขาเป็นเหมือนลูกชาย Marcos ประสบความสำเร็จในการเล่นเทนนิสเร็วมากโดยในปี 2006 ได้เข้าถึงรอบชิง Australian Open และสามารถเป็นแชมป์ได้ด้วยวัยเพียง 20 ปี


Marcos เป็นความภูมิใจของประเทศ Cypus ในจุดสูงสุดของการเป็นนักเทนนิสของ Marcos ทำให้ Marcos คิดว่าเขารู้ทุกอย่างว่าจะเป็นนักเทนนิสระดับแนวหน้าของโลกได้อย่างไร และเขารู้ดีกว่าโค้ชของเขา Marcos อยากที่จะ train ให้น้อยลงเพราะเชื่อว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้นและชนะมากขึ้น แต่ Patrick ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นเพราะรายการที่ Marcos ไม่ได้ตั้งใจการซ้อมและแพ้ทำให้ Patrick ดูแย่ไปด้วย สุดท้าย Patrick โมโห Marcos มาจนแทบอยากที่เดินไปชกหน้าคนที่ในอดีตคิดว่ามีความสัมพันธ์เหมือนพ่อกับลูก จนสุดท้ายถึงจุดที่แตกหัก Patrick ได้พูดอะไรบางอย่างจนทำร้ายความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คน Patrick มองว่าจนถึงวันสุดท้ายในชีวิตเราก็ยังมองว่า Marcos คือลูกชายของเขา ด้วยอารมณ์ชั่ววูป ทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองได้ขาดสะบั้นลง



สิ่งที่ Patrick ได้เรียนรู้ก็คืออย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญโดยใช้อารมณ์ เพราะคุณอาจจะต้องเสียใจไปตลอดชีวิต


Rule No.5: Let them know that they are not alone


เส้นทางอาชีพการเป็นโค้ชมืออาชีพ Patrick ได้พบกับนักเทนนิสดาวรุ่งมากมาย ทุกคนจะพูดเหมือนกันหมดว่าอยากเป็นแชมป์ อยากชนะ สิ่งที่โค้ชอย่าง Patrick มองหาก็คือ นอกเหนือจากคำพูดที่พูดคล้ายๆกันหมดแล้ว คนที่พูดเชื่อในสิ่งที่พูดออกมาหรือไม่ คนพูดเชื่อไหมว่าสักวันหนึ่งเขาจะเป็นแชมป์และเขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้ชนะ


แต่มีสิ่งหนึ่งเขาไม่ค่อยเข้าใจนักเทนนิสดาวรุ่งหลายๆคนก็คือ นักเทนนิสที่มีพรสวรรค์เหล่านั้น ในขณะที่กำลังแข่งขันอยู่เมื่อถึงจุดที่กำลังจะพ่ายแพ้คู่แข่งที่ดูธรรมดา คนที่เก่งคนที่มีศักยภาพกับเลือกที่จะทิ้งการแข่งขันไปหรือในภาษาเทนนิสเรียกว่า Tanking มันก็คือ การเลือกที่จะตีเสียเพื่อให้มันจบๆไป Patrick ถามตัวเองว่าทำไมนักเทนนิสเก่งๆถึงเลือกที่จะแพ้โดยการตีแบบไม่ตั้งใจมากกว่าจะตั้งใจเล่นแล้วแพ้ Patrick ใช้เวลานานในการที่จะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น จนถึงจุดหนึ่งเขาก็เข้าใจว่า นักเทนนิสดาวรุ่งเหล่านี้เชื่อว่าตัวเองมีศักยภาพ และอยากที่จะเก็บความเชื่อเหล่านี้ไว้ เมื่อถึงจุดที่กำลังจะพ่ายแพ้ก็เลือกที่จะเป็นฝ่ายที่บอกว่าเขาเองแหละที่เลือกที่จะแพ้ เพราะไม่ตั้งใจเล่น เพราะว่าอย่างน้อยก็ยังมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นคนที่เก่งกว่าอยู่ดี


ในมุมมองของ Patrick เห็นว่านักเทนนิสเหล่านี้คิดมากจนเกินไปจนไม่จดจ่อกับการแข่งขันต่อหน้า ดังนั้นแทนที่จะต่อว่านักเทนนิสพี่ยอมแพ้จะง่ายๆ Patrick กลับเลือกที่จะตั้งคำถามว่าจะช่วยเขาได้อย่างไร เขาอยากเห็นคนที่เขาโค้ชประสบความสำเร็จ Patrick บอกว่าไม่ใช่สิ่งที่ผิดที่แสดงความเป็นมนุษย์ของเราออกมา แสดงออกมาว่าเรารักและแคร์มากแค่ไหน แล้วบอกว่าเราอยากที่จะช่วยและไม่ได้มาเพื่อตำหนิ สุดท้ายเมื่อนักเทนนิสเหล่านี้ได้เข้าใจแล้วว่าเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เขาอยากมีคนที่อยากเห็นเขาประสบความสำเร็จ เขาเลยพยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะให้โค้ชและตัวเขาประสบความสำเร็จด้วยกัน


Rule No.6: A good lie can become the truth


Patrick บอกว่าทุกๆคนมีข้อจำกัด และข้อจำกัดส่วนมากแต่เรื่องของจิตใจ นักกีฬาทุกคนมีความพยายามที่จะเอาชนะแต่เมื่อถึงจุดที่ตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อนั้นโค้ชมีบทบาทที่จะช่วยให้นักกีฬาก้าวข้ามข้อสงสัยในตัวเอง ในปี 2015 Serena กลับมาเล่น Wimbledon หลังจากที่ปีก่อนหน้านั้นได้แพ้ในการแข่งขัน Serena ไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลยและตีพลาดบ่อยครั้ง เนื่องจาก Serena เป็นคนที่ตีแรง เธอมักจะได้คะแนนจากการตามไปซ้ำที่หน้า net แต่เนื่องจากขาดความมั่นใจเธอเลยไม่กล้าที่จะตามไปซำ้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือเธอมักจะเสียแต้มและไม่สามารถเล่นตามเกมส์ได้


Patrick เดินไปหา Serena แล้วบอกว่าเขามีข่าวดีที่จะบอก Serena นั่นก็คือทุกครั้งที่ Serena เล่นลูกหน้า net ตามสถิติแล้ว Serena จะมีโอกาสชนะคะแนนถึง 80% ซึ่งเมื่อไรที่เห็น Serena ขึ้นหน้า net แล้ว Patrick จะรู้สึก relax เพราะรู้ว่าจะได้แต้มแน่นอน ซึ่งข้อความนี้ทำให้ Serena ค่อนข้างที่จะเซอร์ไพรส์เธอคิดว่าเธอเล่นหน้าเน็ตได้ไม่ดีเลยในวันนั้น


Patrick อาจจะกุตัวเลขขึ้นมา เพราะว่าความมั่นใจเป็นเรื่องสำคัญถ้า Serena มีความมั่นใจ พรุ่งนี้เธอจะกลับมาเล่นได้ดีกว่าเดิมเป็น 10 เท่าเลยทีเดียว จะเรียก Patrick ว่าเป็นคนโกหกหรือปั่นนำ้เป็นตัวก็ได้ แต่สิ่งสุดท้ายเมื่อนักเทนนิสเชื่อและได้ทำในสิ่งที่เชื่อให้เกิดผลสำเร็จ มันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปตั้งคำถามว่าสถิติ Patrick ที่กุขึ้นมาเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพราะสุดท้ายผลลัพธ์ต่างหากที่พวกเราต้องการ หน้าที่ของโค้ชคือการบอกถึงศักยภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ในตัวนักกีฬา สุดท้ายคำโกหกกลับกลายเป็นเรื่องจริง นั่นคือรูปแบบของโค้ชที่ Patrick เชื่อ


ตั้งแต่เด็ก Patrick รู้ว่าอยากจะทำอะไรอยู่ในแวดวงกีฬาเทนนิส เขาอยากเป็นนักเทนนิสก็ไม่ได้เก่งพอ จนเมื่อเขาเริ่มมาเป็นโค้ชเทนนิสเขารู้ว่าเขาสามารถที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับกีฬาเทนนิสได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา Everything depends on you เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบๆตัวเรา เราเป็นผู้ควบคุมเส้นทางเดินของตัวเราเอง ไม่ว่าเราอยากจะทำอะไรในชีวิต เราสามารถทำให้มันเป็นจริงได้ เหมือนปาฏิหาริย์


และนี่เป็นกฎเหล็ก Patrick ที่ใช้กับตัวเอง

เรื่อง ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ

259 views0 comments

Comments


bottom of page