top of page
Writer's pictureEmergenetics Thailand

Emergenetics Engage & Empower



การมีส่วนร่วมของพนักงานในการเพิ่มทักษะและฝึกอบรมใหม่ให้ผ่านคุณสมบัติ Emergenetics® จะสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมที่น่าสนใจได้อย่างไร?

หลายองค์กรมีการฝึกอบรมประเภทเดียวกันในทุกการฝึกอบรม ซึ่งทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับพนักงานในการเก็บข้อมูลและสนใจในการฝึกอบรม ในขณะที่เรากำลังเตรียมควาพร้อมสำหรับการเปลี่ยนบทบาทงานของพนักงาน มันยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมกับโปรแกรมมากขึ้น

ในขณะที่คุณจะสร้างแผน Learning and Development ทางเราอยากให้คุณลองพิจารณาคุณสมบัติของเครื่องมืออย่าง Emergenetics® ที่สะท้อนถึงรูปแบบความคิดและพฤติกรรม สามารถบอกถึงรูปแบบของพฤติกรรมของบุคคลเพื่อให้คุณสามารถผลักดันการมีส่วนร่วมและทำให้พนักงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปแบบความคิดด้าน Analytical

คนที่มีรูปแบบความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical) จะชื่นชอบข้อมูลและความเชี่ยวชาญ ต้องแน่ใจว่ามีการวิจัยที่มีคุณภาพ ผังงานต่างๆและข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกในเนื้อหาของคุณให้แก่พวกเขา

ที่สำคัญควรที่จะให้ข้อมูลบางอย่างล่วงหน้า เพื่อให้ผู้เข้าร่วมในกลุ่มสามารถอ่านก่อนได้ เพราะหากพวกเขาได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะที่เขาจะได้พัฒนาในหลักสูตร และการถามคำถามที่สำคัญอย่างการพูดคุยกันในกลุ่ม การอภิปรายในห้องเรียน หรือ Digital board และแบ่งปันคำตอบกันก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันสำหรับการเรียน

รูปแบบความคิดด้าน Structural

ในการสร้างความสัมพันธ์กับนักคิดเชิงแบบแผนจะต้องมีการปฏิบัติ แนวทางและ Agenda ที่ชัดเจน (หรืออย่างน้อยให้ผู้เข้าร่วมทราบหากคุณจะมีการเปลี่ยนทิศทางของงาน) โดยจัดทำบทสรุปสาระสำคัญที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ที่มีลักษณะทางความคิดเชิงแบบแผนมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสบการณ์จริงและกิจกรรมที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในการ Upskill ให้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการฝึกอบรม กิจกรรมต่างๆที่พวกเขาเข้าร่วมและการใช้งานโดยตรงกับตำแหน่งงานในปัจจุบันหรืออนาคตของพวกเขา

รูปแบบความคิดด้าน Social

ผู้ที่มีความคิดเชิงสานสัมพันธ์ (Social) จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากผู้อื่น อย่างเช่น เรื่องราวส่วนตัว การยกตัวอย่าง และภาพที่เชื่อมโยงกับผู้คนซึ่งจะดีมากหากคนเหล่านั้นเป็นคนที่พวกเขารู้จัก! หรือสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์เข้ากับเนื้อหา แล้วเพิ่มเรื่องราวหรือการเล่าเรื่องลงในสื่อการเรียนรู้ของคุณ โดยให้ทำการปฏิสัมพันธ์ผ่านกิจกรรรม การประชุมทางวิดีโอ หรือผ่านทาง Digital board

สำหรับกิจกรรมในห้องเรียน ลองใช้วิธีเปลี่ยนที่นั่งเพื่อให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับผู้เข้าร่วมคนอื่นได้

รูปแบบความคิดด้าน Conceptual

ผู้ที่มีรูปแบบความคิดเชิงมโนภาพ ชอบที่จะสร้างความสัมพันธ์และเชื่อมโยงงานของพวกเขากับอนาคต การ Upskill และ Reskill ควรมีการเชื่อมต่อกับประเด็นสำคัญกับงานในอนาคต

ผู้ที่มีรูปแบบความคิดนี้มักชอบให้มีการกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ดังนั้นควรจะมีสื่อหลายๆอย่าง เช่น รูปภาพ คำอุปมาอุปมัยเพื่อแสดงถึงแนวคิด หรือคุณสามารถเตรียมถามคำถามปลายเปิด จัดเตรียมเนื้อหาที่สรุปสาระสำคัญและใช้กิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ดำเนินการทดลองด้วยตัวเอง

สำหรับการเรียนแบบตัวต่อตัว นักคิดเชิงมโนภาพจะทำงานนอกห้องเรียนได้ดีที่สุด ให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสทำงานนอกสถานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกันหรือให้เปลี่ยนที่นั่งเป็นประจำตลอดกิจกรรม

นอกเหนือจากนี้ Emergenetics ยังจำแนกคุณลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioral Attributes) ไว้อีก 3 คุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

รูปแบบพฤติกรรม Expressiveness

คนที่มีรูปแบบพฤติกรรม Expressiveness ในกลุ่มระดับ 1/3 มักจะมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่อพวกเขาสามารถแสดงความคิดเป็นการส่วนตัวและในที่เงียบสงบ ก่อนจะให้แชร์ไอเดียหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรม คุณควรสร้างช่วงเวลาระหว่างกิจกรรมหรือให้คำถามเพื่อให้พวกเขาสามารถรวบรวมความคิดของพวกเขาก่อนได้

คนที่มีรูปแบบพฤติกรรม Expressiveness ในระดับ 3/3 เป็นคนที่มักจะเก็บข้อมูลได้ดีที่สุดเมื่อพวกเขามีโอกาสได้เรียนรู้จากภายนอกหรือปฏิสัมพันธ์เชิงกลุ่ม อย่างการให้ร่วมเล่นเกมตามบทบาทและการจำลองเพื่อช่วยเพิ่มความกระตือรือร้นของพวกเขา

รูปแบบพฤติกรรม Assertiveness

คนที่มีรูปแบบพฤติกรรม Assertiveness ในกลุ่มระดับ 1/3 ด้านความมุ่งมั่น มักเป็นคนที่มีรูปแบบพฤติกรรมที่ดำเนินไปอย่างสงบ สุภาพอ่อนโยน เพื่อให้พวกเขาสนใจในการสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี ลองจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็กๆ และกิจกรรมควรต้องมีเวลาที่มากพอ

ในขณะที่คนที่มีรูปแบบพฤติกรรม Assertiveness ในระดับ 3/3 มักจะสนุกกับสไตล์ที่ทำอะไรด้วยความรวดเร็ว รวมถึงกิจกรรมบางอย่าง เช่น การแข่งขันหรือการกระทำที่รวดเร็ว นอกจากนี้คุณอาจเพิ่มแรงจูงใจกาในการทำงานของพวกเขาโดยให้ทำงานเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด

รูปแบบพฤติกรรม Flexibility

ส่วนคนที่มีรูปแบบพฤติกรรม Flexibility ในกลุ่มระดับ 1/3 ด้านความยืดหยุ่น เมื่อมีการตัดสินใจมักเป็นคนที่ยึดมั่น ถือมั่น มีจุดยืนในหลักการของตน เมื่อให้คำแนะนำหรือให้ความคาดหวัง ต้องไม่เปลี่ยนกลางคัน หากคุณต้องเปลี่ยนทิศทางในการทำงานกับพวกเขา คุณต้องมีเหตุผลที่ถูกต้อง ให้สามารถตั้งคำถามและเวลาในการดำเนินการได้

ในขณะที่คนที่มีรูปแบบพฤติกรรม Flexibility ในระดับ 3/3 มักเป็นคนที่มีพฤติกรรมที่ยืดหยุ่นและเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยน คุณควรให้พนักงานสามารถแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนเส้นทางการ Upskill งานของพวกเขาได้

จากประสบการณ์การเรียนรู้ที่คุณมอบให้กับพนักงานจากการฝึกอบรม จะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้โดยพิจารณาจากความสนใจของผู้เข้าร่วมแต่ละคน เพราะพนักงานแต่ละคนมีความหลากหลายทางรูปแบบความคิดและพฤติกรรม ดังนั้นเมื่อคุณจะสร้างโปรแกรมเพื่อช่วย Reskill พนักงานของคุณสำหรับอนาคต คุณควรมีการปรับเนื้อหาและสไตล์ของคุณให้ตรงกับลักษณะของผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นในการเรียนรู้รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลที่จะช่วยให้พนักงานได้รับทักษะที่จำเป็นเพื่อประสบความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้อีกด้วย


68 views0 comments

Comments


bottom of page