top of page
Writer's pictureEmergenetics Thailand

Seven Ways to Support Your Employees’ Mental Health



7 วิธีที่จะช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน


การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 นั้น ได้ส่งผลกระทบกับหลายๆ องค์กร รวมทั้งการทำงานและชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่แปลกเลยที่พนักงานจะรู้สึกมีความเครียด เหนื่อยล้า และเกิดความวิตกกังวล แม้กระทั่งก่อนปี 2020 รายงานพบว่า 72% พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้าและหมดพลังกับการทำงาน


ในอดีตบทความหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตอาจจะเคยเป็นข้อห้าม แต่ปัจจุบันหลายๆ องค์กรได้ให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น ตั้งแต่เกิด Covid-19 เป็นต้นมา พบว่า 86% ของผู้นำในองค์กรในปัจจุบันมีความเป็นห่วงในเรื่องสุขภาพจิตในที่ทำงาน

หากนายจ้างมีบทบาทสำคัญกับการมีสุขภาพจิตที่ดีของพนักงาน จะทำให้เกิดผลดีในชีวิตของพนักงาน


สิ่งที่เกิดขึ้นในที่ทำงานที่มีผลต่อสุขภาพจิต (Workplace Dynamics That Impact Mental Wellness)

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปัจจัยหลักเบื้องต้นที่มีผลต่อสุขภาพจิตของพนักงาน ได้แก่

  • การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการบริหารงาน (Poor Communication and Management)

  • ถูกจำกัดอิสระในการทำงาน (Limited Autonomy Over One’s Work)

  • ไม่ค่อยได้รับการร่วมมือจากพนักงาน (Low Levels of Employee Support )

  • วัตถุประสงค์และหน้าที่ความรับผิดชอบไม่ชัดเจน (Unclear Tasks or Objectives)

  • ชั่วโมงการทำงานไม่ยืดหยุ่น (Inflexible Working Hours)

  • การขาดความสามัคคีในทีมงาน (Lack of Team Cohesion)

  • การกลั่นแกล้ง หรือ การคุกคามข่มเหง (Bullying or Harassment)

เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นและเกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น รวมทั้งการทำงานในระยะไกล และความกังวลต่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงานก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน


โปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ (Strengthen Your Mental Wellness Programs)

ข้อแนะนำสำหรับทีมงานทรัพยากรมนุษย์ (HR) และฝ่ายการเรียนรู้และการพัฒนา (L&D) ในการสร้างโปรแกรมเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางจิตใจให้แก่พนักงาน มีดังนี้

  • แก้ไขปรับปรุงนโยบายการทำงาน (Revise Workplace Policies)

  • โปรโมทประโยชน์ของการมีสุขภาพใจที่ดี (Promote Mental Health Benefits)

  • สื่อสารมากขึ้นและสม่ำเสมอ (Overcommunicate)

  • สร้างโอกาศให้มีการจัดกิจกรรม Team Building (Create Team Building Opportunities)

  • ให้คำแนะนำผู้จัดการแผนกต่างๆ ในการสังเกตความเหนื่อยล้าในทีมงาน (Coach Managers to Spot Burnout)

  • จัดให้มีโปรแกรมในการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี (Deliver Trainings To Support Psychological Wellbeing)

  • รับฟังพนักงานมากขึ้น (Listen To Employees)


1. แก้ไขปรับปรุงนโยบายการทำงาน (Revise Workplace Policies)

เริ่มด้วยการทบทวนนโยบายด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย และการลาโดยได้รับค่าจ้าง รวมถึงการทำงานในระยะไกล หากพนักงานจำเป็นต้องแชร์พื้นที่ในออฟฟิศ ควรมีการปรับนโยบายด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรการที่เป็น Best Practice และพัฒนาแผนในการทำให้ขั้นตอนเหล่านั้นทันเหตุการณ์อยู่เสมอ


จากนั้น พิจารณานโยบายในการลาโดยได้รับค่าจ้างในคู่มือพนักงาน โดยการกำหนด “วันแห่งสุขภาพจิต” ซึ่งจะเป็นเหตุผลที่ดีในการส่งเสริมนโยบายในการลาโดยได้รับค่าจ้างมากขึ้น

“ประเมินนโยบายการทำงานจากที่บ้านเพื่อกำหนดนโยบายเวลาหยุดทำงาน สนับสนุนให้มีการพักเบรก และจัดให้มีตารางการทำงานที่ยืดหยุ่น”

บ่อยครั้งที่ความเหนื่อยล้าและความวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้นเมื่อพนักงานรู้สึกทำงานหนักเกินไป และปราศจากการติดต่อสื่อสาร ซึ่งการทำงานในระยะใกลนั้นยิ่งจะเพิ่มความเหนื่อยล้าและความวิกตกกังวลมากขึ้น



2. โปรโมทประโยชน์ของการมีสุขภาพใจที่ดี (Promote Mental Health Benefits)

เพิ่มโอกาสที่จะส่งเสริมให้ข้อเสนอพิเศษนี้น่าสนใจกับพนักงาน โดยประโยชน์ที่จะได้รับคือการมีสุขภาพที่ดี หรืออาจสร้างในรูปแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมช่วยเหลือพนักงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานอย่างมาก เช่น โปรแกรมให้คำแนะนำปรึกษาแก่พนักงาน เป็นต้น


สื่อสารให้พนักงานรับทราบถึงโปรแกรมพิเศษที่จัดขึ้น นอกจากการชี้แจงถึงโปรแกรมพิเศษต่างๆ ในการประชุมประจำปี ยังสามารถนำเรื่องนี้เข้าไปพูดคุยในการประชุมย่อยของพนักงานที่จัดขึ้นอยู่เสมอได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงการลงในจดหมายข่าว หรือใน Intranet ภายในขององค์กร อีกทั้งยังสามารถจัดโปรแกรม Employee Resource Group (ERG) หรือกลุ่มแบ่งปันข้อมูลด้านสุขภาพจิตเพื่อพนักงาน โดยโปรแกรมนี้พนักงานสามารถแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน เชื่อมต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน และเสริมสร้างบรรยากาศของการส่งเสริมให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการมีสุขภาพที่ดีในทุกๆ ด้าน



3. สื่อสารให้มากขึ้น (Over-communicate)

หากไม่มีการสื่อสาร พนักงานอาจรู้สึกโดดเดี่ยวหรือรู้สึกว่าตัวเองถูกตัดขาดจากเพื่อนร่วมงานหรือจากบริษัทก็เป็นได้ ขอแนะนำให้ผู้จัดการใช้ช่องทางในการติดต่อสื่อสารต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายในการสื่อสารกับพนักงาน รวมทั้งมีการพบปะซึ่งกันและกัน และวิธีการใช้สื่อ Digital ต่างๆ ด้วย

"โดยพิจารณาสื่อสารข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายต่างๆ หรือมีข้อมูลอัพเดทที่สำคัญๆ ของบริษัท และขอให้ระมัดระวังในความถี่ของการส่งข้อมูลให้กับพนักงาน โดยให้เป็นไปอย่างให้เหมาะสมและไม่บ่อยจนเกินไป"

มีข้อแนะนำในการปรับใช้เทคนิคต่างๆ จาก Training Your Leaders on Communication Techniques ซึ่งเป็นเครื่องมือและหลักการณ์ในรูปแบบของการอธิบายคุณลักษณะของ Emergenetics® ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการลดช่องว่างต่างๆ ที่อาจะเกิดขึ้น ทำให้สามารถถ่ายทอดข้อมูลถึงพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานได้มากขึ้น



4. สร้างโอกาสในการจัดกิจกรรม Team Building (Create Team Building Opportunities)


การสร้างสัมพันธภาพระหว่างพนักงานด้วยกันนั้นจะช่วยเพิ่มการมีสุขภาพจิตที่ดี อาจจะลองจัดกิจกรรมแบบเสมือนจริง เช่น Happy Hour หรือการจัด Team Building ในรูปแบบต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในเชิงบวก และเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือการจัดโปรแกรม Peer-To-Peer Employee Recognition Programs หรือโปรแกรมการมอบรางวัลเพื่อนร่วมงาน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมสมาชิกในทีมในการติดต่อและแสดงให้เห็นว่าพนักงานให้ความสำคัญซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและมีสุขภาพทางจิตใจที่ดีต่อพนักงาน


การลงทุนกับการพัฒนาด้านทักษะความรู้ในหน้าที่การงานไปพร้อมกับการฝึกอบรมด้าน Team Dynamics for Small Groups หรือ Meeting of the Minds ก็จะช่วยเสริมสร้างและปลูกฝังความสามัคคีในทีม รวมทั้งยังเป็นการช่วยให้พนักงานปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารและความร่วมมือในการทำงานให้ดีขึ้นเช่นกัน



5. ให้คำแนะนำผู้จัดการแผนก ในการสังเกตสัญญาณแห่งความเหนื่อยล้าของทีมงาน (Coach Managers to Spot Burnout)

พนักงานบางคนอาจจะชอบบอกกล่าวถึงความเหนื่อยล้าและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ในขณะที่พนักงานคนอื่นอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น ดังนั้น หัวหน้างานของพนักงานคนนั้นจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการประเมินว่าสมาชิกในทีมแต่ละคนกำลังรู้สึกอย่างไรบ้าง


การแนะนำผู้นำผู้จัดการหรือผู้นำของแผนก ถึงสัญญาณบ่งชี้ของอาการหรือภาวะเหนื่อยล้าและหมดพลังของพนักงาน เช่น การที่สมาชิกในทีมขาดสมาธิในการทำงาน มีความกลัวในบางสิ่งบางอย่าง หรือมีภาวะทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง

"ผู้นำหรือผู้จัดการทีมยังสามารถปรับใช้เนื้อหาจากคุณลักษณะที่แตกต่างจาก Emergenetics Attributes ในการช่วยให้ค้นพบสัญญานความเครียดของพนักงานได้เช่นกัน"

และเพื่อเป็นการช่วยให้ผู้จัดการสามารถชี้ถึงความเครียดที่เกิดขึ้นกับพนักงานได้นั้น ควรแชร์ข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้จัดการสามารถช่วยเหลือพนักงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคในการรับมือกับความเครียด หรือแม้กระทั่งการแสดงถึงความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และรับฟังพนักงาน เป็นต้น



6. จัดให้มีโปรแกรมการสส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี (Deliver Trainings to Support Psychological Wellbeing)

หากต้องการจัดให้มีการฝึกอบรมในด้านการมีสุขภาพจิตที่ดีนั้น ขอให้แน่ใจว่าได้มีการศึกษาข้อมูลมาอย่างดีแล้ว และมีการร่วมมือกับ Partner หรือองค์กรภายนอกที่น่าเชื่อถือ ผู้จัดการยังสามารถจัดการฝึกอบรมในเรื่องนี้ให้กับพนักงานได้เช่นเดียวกัน ด้วยการปรับใช้โปรแกรมการฝึกจิตใจ (Mindfulness) หรือการฝึกสมาธิ หรือการฝึกโยคะ เป็นต้น


อีกหนึ่งวิธีให้การฝึกอบรมในด้านการใช้จุดแข็งของแต่ละคน (Strength-Based Training) ด้วยการใช้รูปแบบของ Emergenetics ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานใช้จุดแข็งของตัวเองในการเสริมสร้างความมั่นใจ และยังช่วยให้ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ทำให้พนักงานมีพลัง และในคุณลักษณะแต่ละด้านต่างก็มีผลด้านบวกกับการมีสุขภาวะที่ดีด้วยเช่นกัน


ลำดับต่อมา คือการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี บ่อยครั้งที่ความเครียดและความวิตกกังวลจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อพนักงานกังวลเรื่องการเงิน การฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการจัดและบริหารการเงิน แบ่งปันข้อมูลหรือเชิญผู้มีความรู้หรือวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อพนักงานในทีม



7. รับฟังพนักงานมากขึ้น (Listen to Your Employees)

การมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นจะมีความหมายแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน

"การจัดโปรแกรมที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั้น ทำได้โดยการสอบถามความต้องการของพนักงาน"

อาจจะด้วยการใช้แบบสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลและนำข้อมูลนั้นมาออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสม และหากสมาชิกในทีมคนไหนที่ค่อนข้างเปิดเผย อาจจะจัดให้มีการพูดคุยแบบเฉพาะกลุ่ม หรือสัมภาษณ์ตัวต่อตัว เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น และตรงกับความต้องการของพนักงานอย่างแท้จริง


ทั้งนี้ ขอให้ระมัดระวังในการสอบถามข้อมูลกับพนักงาน เนื่องจากบางครั้งพนักงานอาจจะกำลังอยู่ในสภาวะที่ไม่พร้อมหรือไม่สะดวกในการให้ข้อมูล

"ด้วยการติดต่อสื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้สามารถพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานได้"

และผู้จัดการก็จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการพูดคุยสนทนา หรือการได้มาซึ่งข้อมูล ไม่ว่าความต้องการของพนักงานจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือในรูปแบบไหนก็ตาม



หากผู้นำของทีม หรือผู้จัดการต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ทำให้พนักงานเกิดแรงบันดาลใจ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือพนักงานได้อย่างแท้จริง สำคัญอย่างยิ่งที่พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดี ด้วยการแนะนำโปรแกรมที่จะช่วยส่งเสริมด้านนี้และรับฟังพนักงาน ผู้นำหรือผู้จัดการก็จะสามารถเพิ่มความมั่นใจในการพูดคุยสนทนา และค้นพบ Solutions ต่างๆ ที่จะช่วยพนักงานและช่วยให้องค์กรพัฒนาต่อไป


Source : www.emergenetics.com


236 views0 comments

Comments


bottom of page