top of page
Writer's pictureADGES

The Top 10 Coaching Mistakes

ข้อผิดพลาดสำคัญ 10 ประการในการทำโค้ชชิ่ง



"คนเราทุกคนล้วนทำผิดพลาด รวมทั้งผู้นำและโค้ชเช่นกัน"


Gregg Thompson ผู้เขียนหนังสือ The Master Coach และเป็นโค้ชด้านการพัฒนาผู้นำให้กับผู้บริหารระดับสูง รวมถึงได้เดินทางที่เมืองไทยเพื่อทำ Workshop กับผู้บริหารระดับสูงในเรื่องของ Leader As Coach ได้กล่าวไว้ว่าตัวเขาเองก็เคยทำผิดพลาดเช่นกัน และได้สรุปข้อผิดพลาดหลักๆ ที่มักเกิดขึ้นในการทำโค้ชชิ่ง 10 ไว้ประการ ดังนี้


1. พยายามเป็นโค้ชมากเกินไป (Working Too Hard)


ผู้นำหลายคนที่ Gregg รู้จักล้วนแต่ฉลาด มีความรู้และความสามารถ รวมทั้งเต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น พวกเขาสร้างและเติบโตในอาชีพของพวกเขา ความจริงก็คือ พวกเขาทำงานหนักกว่าคนอื่นส่วนใหญ่ทั่วไป แต่ในฐานะโค้ชนั้น นี่ไม่ใช่งานของเราอีกต่อไป

"งานของโค้ชคือการส่งเสริม และกระตุ้นให้คนที่ได้รับการโค้ชเกิดความพยายามให้มากขึ้น"

2. ทำตามรูปแบบที่ตายตัวของการทำโค้ชชิ่งอย่างเคร่งครัด (Doggedly Following a Coaching System)


มีระบบการทำโค้ชชิ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากมาย แน่นอนว่าการวางเป้าหมายและคิดถึงทางเลือกต่างๆ รวมทั้งวิธีการที่จะดำเนินไปสู่สิ่งนั้นมีประโยชน์มาก อย่างไรก็ตาม การสนทนาในระหว่างการทำโค้ชชิ่งที่ดีนั้นแทบจะไม่ทำตามรูปแบบเหล่านั้น โค้ชสามารถพิจารณาเลือกวิธีใดๆ ก็ตามที่เห็นว่าเหมาะสมและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด



3. ไม่พูดในสิ่งที่จำเป็นต้องพูด (Not Saying What Needs To Be Said)


การทำโค้ชชิ่งนั้นจำเป็นต้องอาศัยความกล้า เพราะในระหว่างบทสนทนาการทำโค้ชชิ่งนั้นอาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น มีความอ่อนไหวทางอารมณ์ หรือแม้กระทั่งการเผชิญหน้า และจบการสนทนาด้วยการเดินออกไปด้วยความว่างเปล่า โค้ชควรสิ้นสุดบทสนทนาด้วยความมั่นใจว่าไม่มีประเด็นสำคัญที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในในบทสนทนานั้น



4. ละเลยต่อการสอบถามอีกฝ่ายว่าโค้ชจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง (Neglecting To Ask The Other Person How You Can Be Most Helpful)


ประเด็นใดๆ ที่ไม่สำคัญจะผ่านหรือหายไปอย่างรวดเร็วในระหว่างการโค้ชที่ดี โค้ชที่ดีเยี่ยมมักจะเริ่มด้วยการสอบถามอยู่เสมอว่า "อะไรที่สำคัญที่สุดที่เราควรจะพูดถึงในตอนนี้



5. คาดเดาว่าอีกฝ่ายเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง (Assuming That The Other Person Needs To Be Fixed)


ถึงแม้จะด้วยความหวังดีก็ตาม เป็นเรื่องง่ายที่โค้ชจะถูกดึงไปอยู่ในโหมดของบุคคลที่คอยแก้ไขคนอื่น แต่สิ่งนั้นไม่ใช่งานของโค้ช คนเราทุกคนล้วนสามารถทำผิดพลาด มีจุดอ่อน และข้อบกพร่อง แน่นอนว่าเราอาจจะสามารถช่วยให้คนอื่นลดผลด้านลบที่จะเกิดจากการที่เขามีคุณลักษณะเหล่านั้น แต่งานหลักของโค้ชคือการช่วยให้พวกเขาสามารถใช้พรสวรรค์ที่ได้มาโดยธรรมชาติเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ในระดับที่สูงขึ้นไป และในระหว่างนั้น พวกเขาเองก็จะได้มองเห็นอนาคตของตัวเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น



6. พูดเยอะเกินไป (Talking Too Much)


พวกเราส่วนใหญ่ชอบที่จะได้ยินเสียงของตัวเอง และส่วนใหญ่ก็ไม่ชอบที่จะปล่อยให้มีความเงียบเกิดขึ้นนานๆ ในระหว่างบทสนทนาของการทำโค้ชชิ่ง

“โค้ชที่ดีหลายๆ คนเข้าใจดีว่าความเงียบนั้นจะสร้างพื้นที่ของการสะท้อนมุมมองความรู้สึก การใคร่ครวญและไตร่ตรองของอีกฝ่าย”

โค้ชหลายคนรู้ดีว่าพวกเขาจะช่วยคนอื่นได้อย่างมากด้วยการไม่พูดอะไรเลย แต่จะฟังอย่างตั้งใจ และปล่อยให้อีกฝ่ายได้เผยถึงแรงบันดาลใจ หรือความคับข้องใจ และเผยถึงความชอบ (Passion) ของเขาออกมา



7. แสดงความเป็นเจ้าของในผลสำเร็จ (Owning The Outcome)


คนเราทั้งหลายล้วนต้องการประสบความสำเร็จ ต้องการชัยชนะ และเป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้รับเครดิตในชัยชนะนั้น แต่จะต่างกับการโค้ช

"ผู้ที่ได้รับการโค้ชเท่านั้นจะเป็นเจ้าของความสำเร็จทั้งหมด (รวมทั้งความล้มเหลวด้วย)"

และก็ไม่ใช่เรื่องแปลกผู้ได้รับการโค้ชจะบอกว่า“โค้ชของผมก็เก่งนะ แต่ผมก็ทำอะไรๆ ที่สำคัญส่วนใหญ่ด้วยตัวเอง”



8. ให้คำแนะนำมากเกินไป (Giving Lots of Advice)


โค้ชอย่างเราชอบให้คำแนะนำ เพราะเชื่ออย่างจริงใจว่าจะสามารถช่วยคนอื่นได้ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งนั้นก็กำลังกระตุ้น Ego ในตัวเราขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นรูปแบบหรือวิธีการโค้ชที่ไม่ควรให้น้ำหนัก

"โค้ชที่ดีจะต้องจำกัดการให้คำแนะนำ แต่ควรมอบทางเลือกมากกว่า เพื่อช่วยให้ผู้ที่รับการโค้ชได้รับข้อมูลเชิงลึกและนำไปดำเนินการต่อไป"

เช่น การส่งเสริม การกระตุ้น การสอบถาม การท้าทาย การยืนยันความคิดเห็น เป็นต้น



9. ไม่จดจ่อกับบทสนทนาที่อยู่ตรงหน้า (Winging It)

ในบทสนทนาระหว่างการโค้ชนั้นไม่ได้มุ่งหวังให้เพิ่มประโยชน์ให้กับโค้ช เพราะประโยชน์ทั้งหมดจะมุ่งไปที่ผู้รับการโค้ชโดยตรงเท่านั้น

"โค้ชที่ดีใช้เวลาในการสนทนาพูดคุยที่ปราศจากประเด็นเร่งด่วนที่โค้ชต้องให้ความสำคัญ ข้อกังวล หรือปัญหาต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับการโค้ช "

แม้จะเป็นเพียงชั่วคราวในระหว่างการสนทนาก็ตาม โดยการทำเช่นนี้โค้ชจะสามารถโฟกัสกับอีกฝ่ายได้อย่างเต็มที่ และใช้เวลาทบทวนและไตร่ตรองถึงสิ่งที่ผู้รับการโค้ชต้องการ รวมทั้งความสามารถ ความท้าทาย และสิ่งอื่นๆ ของอีกฝ่ายที่ได้รับการโค้ช เพื่อที่จะเป็นการสร้างสรรค์การสนทนาที่พูดถึงเฉพาะคนที่กำลังรับการโค้ช หรืออนาคตของเขา/เธอ เท่านั้น



10. สิ้นสุดการสนทนาโดยปราศจากจุดมุ่งหมาย (Finishing Without a Commitment)


การทำโค้ชชิ่งที่ดีเยี่ยมมักให้ผลลัพธ์สองอย่าง คือ ข้อมูลเชิงลึก และ การนำไปปฏิบัติจริง หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ยังถือว่านั่นไม่ใช่การโค้ช แต่เป็นเพียงแค่บทสนทนาที่น่าสนใจเท่านั้นเอง โค้ชที่ดีจึงต้องสามารถกระตุ้นให้ผู้รับการโค้ชให้คำมั่นและกำหนดว่าจะทำอะไรให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้กล่าวถึงข้อผิดพลาดหลักๆ ทั้ง 10 ประการในการโค้ช จะช่วยให้มองเห็นพฤติกรรมหรือวิธีการต่างๆ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัด ที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการโค้ชลดลง และจะยิ่งดีกว่านั้นหากโค้ชสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้


ทาง ADGES ได้ทำงานทางด้าน Executive Coaching กับ Bluepoint Leadership และมีโอกาสได้ร่วมทำ Workshop กับองค์กรชั้นนำในระดับ Fortune 100 อย่าง GE Qualcomm และ American Express หลักสูตร Leader As Coach ถือว่าเป็นหลักสูตรชั้นนำของโลกที่ใช้ทั้งเรื่องศาสตร์ของการทำ Coaching ผนวกกับข้อมูลที่สำคัญอย่างการเก็บข้อมูล 360 องศาของผู้เรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบ Individualize ซึ่งจะเห็นของการพัฒนาอย่างชัดเจนและจับต้องได้ สนใจนำหลักสูตรอย่าง Leader As Coach ไปใช้ในองค์กรติดต่อ info@adges.net หรือ 6688-028-1111




397 views0 comments

Comments


bottom of page