การทำสมาธิป้องกันสมองของผู้สูงวัยจากภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร
หลายงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมาแนะนำว่าการทำสมาธิเป็นประจำอาจกระตุ้นความยืดหยุ่นและความจดจ่อของจิตใจ แถมยังเป็นเกราะป้องกันชั้นดีไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย
พวกเราส่วนใหญ่เริ่มจำกุญแจสลับกัน ลืมชื่อคน แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ช้าลงเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน เรามักเรียกว่าเป็นภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากวัย (Age-Related Cognitive Decline) หลายปีก่อน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่งานวิจัยที่ยอดเยี่ยมในสองศตวรรษที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า
"สมองของผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลงจากประสบการณ์และการฝึกฝนตลอดเวลาที่ใช้ชีวิต สิ่งนี้เป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่าความยืดหยุ่นของสมอง"
ความยืดหยุ่นของสมองไม่ใช่พรสวรรค์ งานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่าการแก่ชราของสมองขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อาหาร การออกกำลังกาย ตัวเลือกในการใช้ชีวิต และการศึกษา ยิ่งใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและออกกำลังกายมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสที่คนจะรักษาประสิทธิภาพของสมองไว้ได้นาน
"การทำสมาธิอาจเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาสุขภาพ และประสิทธิภาพที่ดีของสมอง"
ต่อไปนี้คือคำแนะนำจากงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมาว่าการเจริญสตินั้นช่วยให้สมองของผู้สูงวัยแข็งแรงและทำงานเต็มที่ได้อย่างไร
การทำสมาธิกระตุ้นความยืดหยุ่นของสมองได้อย่างไร
เพื่อรักษาความเฉียบคมของสมอง การรักษาสิ่งที่นักวิจัยเรียกว่า Neural Reserve ไว้ให้ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สิ่งที่ “สงวน” (Reserve) ไว้หมายถึง ประสิทธิภาพของจิตใจ สมรรถนะ หรือความยืดหยุ่นของสมอง มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนจิตใจอย่างสม่ำเสมอในการเจริญสติอาจช่วยให้สิ่งที่ “สงวน” ไว้นั้นยังคงอยู่ ตัวอย่างเช่น มีการทบทวนหลักฐานหนึ่งที่เชื่อมโยงการทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอกับพัฒนาการด้านบวกของการทำงานของสมอง เช่น การจดจ่อที่ดีขึ้น การตระหนักรู้ ความทรงจำ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของจิตใจ
หลายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำสมาธิทุกวันมีผลต่อทั้ง “ภาวะ” และ “เครือข่าย” ของสมอง การฝึกภาวะของสมองต้องอาศัยการเปิดเครือข่ายขนาดใหญ่ในสมองซึ่งส่งผลเป็นวงกว้างต่ออารมณ์และจิตใจ ตัวอย่างที่ชาญฉลาดหนึ่งที่พบคืองานวิจัยที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ โดยกลุ่มนักวิจัยจาก UCLA ที่รายงานว่า
"ผู้ทำสมาธิที่มีประสบการณ์จะมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อในสมองส่วนต่างๆ มากกว่าที่จะลดลงเพราะความชรา และยังแนะนำว่าการทำสมาธิอาจช่วยชะลอการแก่ชราของสมองและป้องกันภาวะสมองเสื่อมจากวัย"
ในทางตรงข้าม การฝึกเครือข่ายของสมองจะเน้นพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ด้วยการเปิดเครือข่ายเกี่ยวกับความสามารถหนึ่งซ้ำๆ เช่น การจดจ่อกับอะไรบางอย่าง เป็นต้น เปรียบได้กับการออกกำลังกล้ามเนื้อสำหรับจิตใจนั่นเอง เป็นที่เชื่อว่าทั้งการฝึกภาวะและเครือข่ายของสมองต่างก็เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสมองให้เฉียบคม
สมองอันปราดเปรียวของผู้สูงวัย
"การทำสมาธิอาจให้ประโยชน์เพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือความยืดหยุ่นในจิตใจที่เพิ่มขึ้น"
สำหรับบางคน อายุมาพร้อมกับความตายตัวของความคิด ความรู้สึก ความคิดเห็น และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความท้าทายหรือปัญหาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแสแห่งชีวิต สิ่งดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดความเครียดและอาจนำไปสู่ความป่วยไข้ได้ และเนื่องจากการทำสมาธิส่วนใหญ่เน้นพัฒนาการตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก สัมผัสทางกายโดยปราศจากการบอกเล่าบรรยายหรือตัดสินเกี่ยวกับประสบการณ์
"การเจริญสติจึงอาจช่วยลดการยึดติดของคนจากผลลัพธ์ที่เป็นสิ่งแน่นอน เพิ่มความยืดหยุ่นในจิตใจ และเพิ่ม Neural Reserve ได้"
แม้จะสนับสนุน แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักว่างานวิจัยนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และผลลัพธ์ก็มีความหลากหลาย ยกตัวอย่าง มีหลายงานวิจัยที่รายงานว่าผู้ทำสมาธิสูงวัยจะประสบผลสำเร็จมากกว่าผู้ที่ไม่ทำสมาธิที่อายุเท่ากัน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้ทัดเทียมกับคนที่อายุน้อยกว่า งานวิจัยอื่นๆ รายงานว่าการทำงานขั้นสูงของสมองมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากหรือไม่มีเลยหลังจากการเจริญสติในผู้สูงวัย หรือรายงานว่าการพัฒนาต่างๆ หายไปตามเวลา
สิ่งที่เรารู้ คือ การเจริญสติในระยะยาวอาจพัฒนาประสิทธิภาพการรู้คิดในผู้สูงวัย
"ด้วยการฝึกฝนที่สม่ำเสมอ ประโยชน์ที่ได้รับก็จะยั่งยืน"
และนั่นก็เป็นข่าวดีสำหรับผู้สูงวัยอีกหลายล้านคนที่กำลังต่อสู้กับผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการแก่ชราของสมอง
Source: www.mindful.org
Comments