top of page
Writer's pictureADGES

Practice Self-Compassion with Forgiveness



ฝึกการเมตตาตนเองด้วยการให้อภัย


เราไม่สามารถบังคับตนเองให้ก้าวต่อไปหลังจากสถานการณ์อันน่าเจ็บปวดได้ การคาดหวังให้การให้อภัยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสมัครใจอาจส่งผลเสียได้ ต่อไปนี้คือวิธีเจริญสติเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับตนเองในการให้อภัย


เราต่างก็เคยได้ยินสำนวน “ให้อภัยและลืม” ราวกับว่าการรับมือกับความเจ็บปวดที่คนอื่นทำกับเราเป็นงานที่เร็วและง่าย คำพูดนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และสร้างแนวคิดที่บังคับในการให้อภัย แต่การเยียวยาตนเองนั้นต้องผ่านระยะของการปฏิเสธและหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดที่เราได้เผชิญมาก่อน



แน่นอนว่าการให้อภัยคือกระบวนการ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นกระบวนการที่ยาก จนถึงขั้นที่บ่อยครั้งอาจรู้สึกว่าเป็นการฝึกทางจิตวิญญาณ

"เราไม่สามารถบังคับให้ตนเองให้อภัยได้อย่างทันทีทันใด การให้อภัยเกิดขึ้นในต่างช่วงเวลาสำหรับแต่ละคน และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย"

สิ่งที่เราทำได้คือสร้างพื้นที่สำหรับตนเองในการให้อภัย และตลกร้ายที่บางครั้งส่วนหนึ่งของมันก็คือการอนุญาตให้ตนเองได้ต่อสู้กับความรู้สึกโกรธและเจ็บปวด เมื่อซื่อสัตย์กับความรู้สึกกับตนเองแล้ว เราก็จะสามารถพิจารณาหนทางอื่น ๆ ในการมองความโกรธของตนเอง รวมถึงมองเห็นว่าอันที่จริงการแสดงความโกรธและคับข้องใจออกไป ก็เป็นการแสดงความเมตตาต่อตนเอง (Self-Compassion) ด้วย

"การยอมรับว่าการให้อภัยเป็นกระบวนการพหุนิยมหรือมีแนวคิดที่หลากหลายและต่อเนื่องสำหรับปัจเจกบุคคล จะช่วยให้เราตระหนักว่าความต้องการของตนเองมีบทบาทอย่างไรในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง"

การบอกเล่าเรื่องราว การรับรู้ในสิ่งที่เกิดและรับรู้ว่าเรารู้สึกอย่างไรมักจะเป็นส่วนสำคัญของการให้อภัย หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ เราจะติดอยู่กับความจริงเสมือนที่ถูกแช่แข็งในห้วงเวลา ซึ่งบางครั้งก็ถักทอขึ้นมาจากเรื่องปั้นแต่ง



หลายครั้งที่ในความเป็นจริง ความรักก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เมื่อเรื่องราวเก่าๆ และความฝันของเราแตกสลาย สัญชาติญาณแรกคือ ต่อต้าน ปฏิเสธ หรือยึดติดกับสิ่งที่เคยเป็น

"แต่ถ้าเราปล่อยวาง สิ่งที่จะมาเติมเต็มช่องว่างมักจะเป็นการให้อภัยและศักยภาพที่จะเปิดรับความรักที่ใหม่และแตกต่างไปจากเดิม"

พูดอีกอย่างคือ มีสถานการณ์มากมายและอาจนับไม่ถ้วนด้วยซ้ำที่เราสามารถฝึกการให้อภัยได้ การคาดหวังให้การให้อภัยเป็นการกระทำหนึ่งที่ถูกผลักดันด้วยแรงบังคับให้ก้าวต่อไปและให้ลืมนั้น อาจส่งผลเสียมากกว่าความรู้สึกหรือความโกรธที่เกิดขึ้นแต่เดิม การยอมรับว่าการให้อภัยเป็นกระบวนการพหุนิยม (Pluralistic) และต่อเนื่องสำหรับปัจเจกบุคคล จะช่วยให้เราตระหนักว่าความต้องการของตนเองมีบทบาทอย่างไรในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เราไม่สามารถ “ให้อภัยและลืม” ได้ง่ายๆ และไม่ควรทำเช่นกัน


การทำสมาธิเพื่อให้อภัย (A Forgiveness Meditation)


การทำสมาธิเพื่อให้อภัยไม่ได้แตกต่างจากการทำสมาธิเพื่อให้ความรักความเมตตามากนัก ซึ่งทั้งสองต่างเปิดโอกาสให้เราสัมผัสภาวะอารมณ์ของตนโดยไม่ตัดสิน และใช้การทำสมาธิเป็นที่ยึดเหนี่ยวความสนใจ การฝึกทั้งสองอาศัยความกล้าหาญ เราต้องไม่ปฏิเสธความทุกข์หรือการกระทำอันตรายต่าง ๆ ที่ได้ทำลงไปแล้ว

"การให้อภัยต้องอาศัยสติที่ย้ำเตือนว่าเราไม่ได้รู้สึกอย่างที่เคยรู้สึกในสถานการณ์นั้นแล้ว เราไม่ใช่คนเดียวกับคนที่ทำร้ายคนที่เราเคยทำร้าย หรือ เราไม่ใช่คนที่มีคนอื่นเคยทำร้าย"

การให้อภัยไม่ใช่การถูกกระทำ แต่เป็นการกระทำที่ปลดปล่อยความรู้สึก เช่น ความโกรธ ความรู้สึกผิด และความคับข้องใจ ทั้งหมดคือความรู้สึกที่กัดกร่อนเราถ้าเรายังยึดติด

"การให้อภัยต้องอาศัยสติที่ย้ำเตือนว่าเราไม่ได้รู้สึกอย่างที่เคยรู้สึกในสถานการณ์นั้นแล้ว เราไม่ใช่คนเดียวกับคนที่ทำร้ายคนที่เราเคยทำร้าย หรือเราไม่ใช่คนที่มีคนอื่นเคยทำร้ายเรา



ตามวิธีดั้งเดิม การทำสมาธิมีสามขั้นตอน

  • ขั้นตอนแรก เราขอการให้อภัยจากคนที่เราได้ทำร้าย

  • ต่อไป เผื่อแผ่การให้อภัยไปยังคนที่ได้ทำร้ายเรา

  • การฝึกขั้นสุดท้าย คือ การให้อภัยตนเองสำหรับทุกครั้งที่เราได้ทำร้ายตนเองด้วยลักษณะจิตนิสัยที่ชอบตัดสิน

1) นั่งสบายๆ หายใจตามปกติ: เริ่มต้นด้วยการพูดในใจ (หรือออกเสียง) เพื่อขอการให้อภัยจากคนที่คุณได้ทำร้าย คุณอาจลองพูดว่า “ถ้าฉันเคยทำร้ายหรือทำให้ใครเจ็บปวดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ฉันขอให้คุณให้อภัยฉันด้วย”


2) สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น: คุณอาจพบว่าการให้อภัยใครสักคนสามารถกระตุ้นความทรงจำเกี่ยวกับอีกสถานการณ์หรือบุคคลที่คุณรู้สึกแย่ อย่าผลักความรู้สึกหรือความคิดเหล่านั้นออกไป แต่จงมุ่งความสนใจไปที่การฝึก และอย่ายึดติดกับความรู้สึกผิด หรือโทษตนเองที่วอกแวก เมื่อความคิดอื่นๆ ผุดขึ้นมา จงให้อภัยด้วยรูปแบบใหม่ๆ เหล่านี้


3) ต่อไป (หลังจากที่คุณใช้เวลาเท่าที่ต้องการไปกับขั้นตอนแรกของการใคร่ครวญ) คุณสามารถเริ่มต้นให้อภัยคนที่เคยทำร้ายคุณ: “ถ้าใครเคยทำร้ายหรือทำให้ฉันเจ็บปวดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ฉันให้อภัยพวกเขา”


4) คิดถึงประสบการณ์อันน่าเจ็บปวดที่กระตุ้นอารมณ์ของคุณอีกครั้ง: ทั้งความรู้สึก ภาพ ความทรงจำที่ปรากฏ จากนั้นคุณอาจแค่พูดว่า “ฉันให้อภัยคุณ”


5) สุดท้าย เราหันไปสนใจกับการให้อภัยตนเอง เราส่วนใหญ่เคยผ่านประสบการณ์การโทษตนเอง ทั้งการทำงานความสัมพันธ์ หรือแค่เพราะเรามีนิสัยที่ขังตัวเองไว้ในวัฏจักรความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) “สำหรับทุกการกระทำที่ฉันได้ทำร้ายหรือทำให้ตัวเองเจ็บปวดโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ฉันให้อภัย”



83 views0 comments

Comentarios


bottom of page