top of page
Writer's pictureADGES

Talent, regulation and capital needed for Thai economy to recover




บุคลากรที่มีความสามารถ กฎระเบียบ และเงินทุน มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย


Professor Arturo Bris ได้กล่าวไว้ว่า

“การเพิ่มทักษะทางด้าน Digital และการศึกษาทางด้านนี้ จะเป็นกุญแจสำคัญต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย"

ท่ามกลางบรรยากาศและสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประเทศไทย มีความจำเป็นที่ต้องดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถด้าน Digital หรือ Digital Talent และควรต้องลงทุนกับการศึกษาในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และนี่คือประเด็นสำคัญที่ได้กล่าวถึงใน Webinar ของสถาบัน IMD ซึ่งได้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และ Website ห่วงใย Thai Business เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรับฟังได้รับข้อมูลเชิงลึก ถึงโอกาสในการฟื้นฟูของประเทศต่างๆ ในเขตภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค


จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid นั้น ได้เร่งให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นกับทุก Sector ทั่วโลก ดังนั้น ขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับอนาคตเศรษฐกิจของประเทศไทย


โดยการจัด Webinar นี้ ได้รับเกียรติจาก Professor Arturo Bris, Director of the IMD World Competitiveness Center, และ Professor สาขาการเงินของ IMD ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก ถึงอนาคตการฟื้นฟูของประเทศไทย และได้พูดคุยกับผู้บริหารในประเทศ เกี่ยวกับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในปัจจุบันว่ามีความสำคัญมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งพิจารณาได้จากการที่เศรษฐกิจของไทยสามารถฝ่าฟันความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของไทยนั้น ทำได้ดีมากน้อยแค่ไหนในวิถีแห่ง New Normal


ขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน Digital และ Talent


ตัวขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Digital Transformation ในประเทศไทยนั้น จะเกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ได้จริงในอนาคต ด้วยการดำเนินงานที่เป็น Automation มากขึ้น รวมทั้งการเกิดประสิทธิผล และเกิดการจ้างงาน ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่การจ้างงานในบางตำแหน่ง แต่การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี Digital (Digital Transformation) ของประเทศนั้น ก็ต้องสามารถก่อให้เกิดการสร้างงาน และสร้างความเจริญเติบโตในระยะยาวได้ด้วย และแรงงานที่ถูกแทนที่ด้วย Automation ก็ต้องสามารถหางานใหม่ในสาขาเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้


การที่ประเทศไทยจะกลายมาเป็น Hub ทางด้าน Digital ในภูมิภาคนั้น จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถ รวมทั้งข้อกำหนดและกฎระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ และต้องมีเม็ดเงินในการลงทุนทางด้านนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วย Digital สูงที่สุดในโลก ได้สร้างให้มีบรรยากาศที่เป็น Digital Ecosystem เกิดขึ้น และสามารถดึงดูด Talent จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั้งจากภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งมีกรอบของกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เอื้อต่อ Digital Transformation และการสนับสนุนด้านเม็ดเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี โดยผ่านการระดมทุนในตลาดหุ้น และสถาบันการเงิน Venture Capital ต่างๆ


เศรษฐกิจของประเทศไทย เมื่อวัดถึงขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้าน Digital นั้น ได้ถูกจัดไว้ในอันดับที่ 39 จากทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก โดยอ้างอิงจากรายงาน IMD’s World Digital Competitiveness Report 2020 ซึ่งทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงต้องมีการพัฒนาต่อไป ทั้งในด้านบุคลากรที่มีทักษะทาง Digital และการใช้จ่ายในภาคประชาชน รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจไทยด้วย


ในขณะเดียวกัน บริษัทที่อยู่ในประเทศไทยเอง ก็สามารถเติมเต็มช่องว่างในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถทางด้าน Digital หรือ Digital Talent ด้วยการเพิ่มการฝึกอบรม รวมไปถึงการจ้างงานชาวต่างชาติที่มีทักษะทางด้านนี้ ซึ่งในปัจจุบัน เราได้เห็นแล้วว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดึงดูด Talent จากทั่วโลก รวมทั้งแนวโน้มของการทำงานแบบ Remote Work ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การศึกษา และการดึงดูด Talent นั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน แต่ความสามารถในการแข่งขันของ Talent ก็ยังมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยการเพิ่มการแข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพ การสร้างเกณฑ์มาตรฐานทักษะของ Talent ภายในประเทศ และให้ความสำคัญกับการเพิ่มและพัฒนาทักษะ (Upskill) ให้กับ Talent ในท้องถิ่นให้มากขึ้นด้วย


นโยบายของภาครัฐ มีความสำคัญกว่าในอดีต


อีกปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญและเป็นทางออกในช่วงวิกฤต โดยผ่านแนวทาง Competitiveness Model นั่นคือ

“ความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ จะส่งผลต่อแนวทางในการฟื้นฟูของประเทศ”

เมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับที่ 29 จาก 63 ประเทศทั่วโลก ในด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยอ้างอิงจากรายงาน IMD’s World Competitiveness Report 2020 ซึ่งหล่นจากอันดับที่ 25 ในปี 2019 ความสามารถในการแข่งขั้นนั้น จะทำให้เกิดขอบข่ายและแนวทางในการให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เอื้อต่อความเจริญรุ่งเรือง รวมทั้งยังเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง และเป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในนโยบายเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย


จากอันดับต่างๆ ที่ประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งจากประสบการณ์ของ Professor Bris เอง ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับผู้ประกอบการในประเทศไทย โดย Professor Bris ได้เน้นย้ำว่า

“ธุรกิจในภาคเอกชน คือเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย”

และเมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid ได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ ในเกมการแข่งขันในโลกธุรกิจ ผู้เล่นเองคงต้องยอมรับว่าผลการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของนโยบายจากภาครัฐ ที่จะเข้ามาเยียวยา และช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ความมีประสิทธิภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบข่ายการดำเนินงานของหน่วยงานหลักๆ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งท้าทายต่อการแข่งขัน ในขณะที่เศรษฐกิจเองกำลังพยายามรับมือกับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน


แนวทางในการแก้ไข


ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียเอง ก็ได้รับผลกระทบและเกิดการชะลอตัวของการเติบโตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ และด้านการศึกษาด้วย


ทั้งนี้ หากประเทศไทยต้องการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น จำเป็นต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งมีความมั่นคงด้านนโยบาย และสามารถคาดการณ์ได้ สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ สร้างวัฒนธรรมของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่เข้มแข็ง และลงทุนในแรงงานที่มีทักษะ รวมทั้งลงทุนในระบบการศึกษาด้วย


ยุคของโลกแห่งโลกาภิวัตน์นั้น อาจเกิดการชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid แต่ผลกระทบนี้ก็มีแนวโน้มที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เพราะได้รับอานิสงค์จากการเติบโตของโลกเสมือนจริง (Virtual Globalization) และจากการสรุปความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมรับฟัง Webinar ในครั้งนี้เอง ก็ได้ร่วมกันสรุปว่า

“ความสามารถในการแข่งขันด้าน Digital นั้น เป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาต่อไปในอนาคตของประเทศ”

และการลงทุนเพื่อการพัฒนาบุคลากรทางด้าน Digital หรือ Digital Talent ก็ควรทำให้เกิดทักษะต่างๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับงานในอนาคตด้วย


และจากมุมมองในเชิงลึกของ Professor Bris ในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็น Message ที่สำคัญที่จะส่งถึงผู้นำและถึงองค์กรต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นนั่นเอง


Source : www.imd.org


21 views0 comments

Comments


bottom of page