top of page
Writer's pictureDr.Nattavut Kulnides

Choluteca Bridge – ‘The Bridge to Nowhere’



เปล่าครับไม่ได้มาเที่ยวทิพย์ แต่แค่มาเขียนกันลืม เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาได้รับ คำเชิญให้มาร่วมพูดคุยเพื่อที่จะ Kick-off ให้กับกลุ่ม Internal Trainer ขององค์กรชั้นนำองค์กรหนึ่ง แต่เมื่อโควิดเข้ามากระทบเป็นรอบที่สาม ก็ได้รับคำขอร้องว่าขอเลื่อนไปก่อนเพราะตอนนี้ระดับของการ engage ของพนักงานค่อนข้างต่ำมาก เพราะหลายคนก็ concern ในเรื่องของสถานการณ์โรคระบาดรวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้


แต่ไหนๆก็เตรียมข้อมูลที่จะมี session ก็เลยขออนุญาตินำมาเล่าให้กับเพื่อนๆ facebook ฟังเพื่อจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ


หลายคนพอเห็นรูปในโพสเอาไว้ ก็อาจจะรู้จักหรือพอได้ยินเรื่องสะพานแห่งนี้มาบ้าง สะพานนี้มีชื่อว่า Choluteca Bridge ตั้งอยู่ในประเทศ Honduras โดยใช้ชื่อเมือง Chuluteca มาเป็นชื่อสะพานนั้นเอง โดยตั้งแต่เริ่มแรกเลยสะพานแห่งนี้ถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1930 โดยกองทัพสหรัฐ ซึ่ง ต้องการที่จะให้ ประเทศ Honduras เป็นแหล่งเศรษฐกิจใหม่เลยมีส่วนช่วยในการสร้างสะพานกว่าร้อยสะพานในประเทศ ส่วนเมือง Chotuleca ค่อนข้างมีชื่อเสียงว่ามีพายุระดับเฮอร์ริเคน Category 5 ซึ่งมีแรงลมมากกว่า 250 km/h พัดผ่านอยู่เสมอ เมื่อในปี 1996 ก็เลยมีการตัดสินใจว่าจะสร้างสะพานใหม่ ที่แข็งแรงมาก ทนต่อ ความแรงของพายุเฮอร์ริเคนทางทีมวิศวกรและสถาปนิก ก็ได้ออกแบบ สะพานนี้เพื่อให้ทนกับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นแรงลม หรือว่าพายุ กำลังขนาดไหนก็มีอาจที่จะพังทลายสะพานนี้ได้ โดยได้ทีมงานก่อสร้างจากญี่ปุ่นมาก่อสร้างให้ซึ่งก็ถือว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในทวีปอเมริกากลางเลยทีเดียว


แล้วเมื่อก่อสร้างสะพานเสร็จในปี 1998 ก็ได้ใช้เลย เมื่อพายุเฮอร์ริเคน Mitch ได้ถล่มประเทศในแถบอเมริกากลางรวมทั้ง Honduras ด้วยแรงลมที่พัดกระหน่ำกว่า 285 Km/H ทำให้เกิดการเสียชีวิตและสูญหายของผู้คนไปกว่า 11,000 คน และถือได้ว่าเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกากลาง ประธานธิบดีของ Honduras ถึงกับบอกว่าพายุลูกนี้ทำให้เศรษฐกิจของ Honduras ถัดถอยกลับไปกว่า 50 ปีเลยที่เดียว พายุเฮอริเคน ยังได้พัดถนนทั้งสายให้หายไปเลยรวมถึงตึกรามบ้านช่อง แต่สิ่งหนึ่งที่พายุเฮอร์ริเคนพังทลายไม่ได้…ใช่แล้วครับนั่นก็คือเจ้าสะพาน Choluteca Bridge นั่นเอง ที่ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่าและโครงสร้างไม่ได้โดนกระทบกระเทือนแต่อย่างใด แต่เฮอริเคนเองก็สร้างผลกระทบอย่างใหม่ขึ้นมานั่นก็คือ เฮอริเคนได้เปลี่ยนสายน้ำที่เคยลอดใต้สะพาน Chotuleca ไปตลอดกาล อีกทั้งเฮอริเคนก็ยังทำลายถนนทั้งสองข้างของสะพานไปทั้งหมด ทำให้ เกิด เป็น ปรากฏการณ์ ที่มี สะพาน ตั้งตระหง่านอยู่อย่างเดียวดายแต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ทั้งๆที่โครงสร้าง ทุกสิ่งอย่างใดทำหน้าที่อย่างที่ถูกออกแบบไว้ แต่สิ่งที่เรามองเห็นได้นั่นก็คือ ต่อให้โครงสร้างที่แข็งแรง ผ่านการคิดคำนวณมา ดีแค่ไหน แต่เมื่อโครงสร้างนั้นไม่ได้ถูกออกแบบให้ตอบโจทย์กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สิ่งที่เหลือไว้ ก็ไม่มีประโยชน์อันใด


เรื่องของสะพาน Choluteca ถูกนำมาใช้เป็นการอุปมาอุปมัยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการศึกษาที่ถูกออกแบบมากว่าร้อยปีแล้ว ซึ่งทุกคนทำหน้าที่อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน คุณครูผู้ปกครอง รวมถึงนักเรียน แต่สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบให้กับตัวนักเรียน ความสามารถในการแข่งขัน หรือว่าเป็นการ มองไม่เห็นถึงศักยภาพของนักเรียน ที่หลายครั้งมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่เอื้อให้ศักยภาพที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่สามารถเข้าถึงได้กลับเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กในสมัยนี้ เพราะฉะนั้นถ้าการศึกษาเองยังมีแต่คนรุ่นเก่ามานั่งกำหนดหลักสูตรเพื่อให้คนรุ่นใหม่เรียน เราก็คงจะได้เห็นการศึกษาที่เป็นเหมือนสะพาน Chotuleca นั่นเอง นั่นก็คือมีความแข็งแกร่ง ทำงานอย่างที่ถูกออกแบบเอาไว้แต่สุดท้ายแล้วไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับใครเลย


ถ้าเรามองกลับมาในเรื่องของสถานการณ์โรคระบาดรวมถึงสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องเร่งให้น้ำหนัก หน้าที่ของกลุ่ม Internal Trainer หลายองค์กรยังให้น้ำหนักในเรื่องของการสร้างเนื้อหา (Content) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือคนในองค์กรกลับไม่ได้เข้าใจถึงบริบท Context ที่เปลี่ยนไป อีกหลายวงการเช่นวงการสื่อ ยังมีแนวคิดแบ่งคนเสพสื่อออกเป็น Generation ตายตัวตามปีที่เกิด แต่ไม่ได้มองว่าการที่คนต่างวัยกลับใช้เวลาปีกว่าๆในการ Work from Home และ Learn from Home ถึงแม้ว่าจะต่างวัยใช้ Program zoom เหมือนกัน สั่ง Grab Food Panda กับ Line Man เหมือนกัน เสพ Content จาก social media platform, Spotify, Netflix เดียวกัน จะไม่เกิดการหลอมรวมกันระหว่าง generation จนกลายเป็น Generation WE หรือ Generation รวมมิตรที่มีความเชื่อและคุณลักษณะที่คล้ายกันแต่อายุต่างกันหลายสิบปีได้หรือไม่


สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นจากองค์กรชั้นนำ ไม่ใช่เป็นการเร่งให้คนในองค์กรเข้าใจเรื่อง แต่สิ่งสำคัญกว่าก็คือองค์กรชั้นนำเหล่านั้นสามารถที่จะเข้าใจ Context และนำมาปรับใช้ให้ตรงกับสถานการณ์ขององค์กรได้จริงๆหรือไม่ เราพูดถึงการ Relearn และ Unlearn ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยน Content แต่มันจะมีประโยชน์อย่างที่เราหวังหรือเปล่าในเมื่อ Context เปลี่ยนและองค์กรก็ยังไม่เข้าใจมันดีพอ ในขณะที่เราชอบที่จะหวังพึ่งว่า ให้ผู้รู้ ที่ปรึกษาจากต่างประเทศมาสร้างเรื่อง Context ให้กับเราแต่ในความเป็นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสตร์สถานการณ์ปัจจุบันไม่มีใครที่จะสามารถที่จะตอบเรื่อง Context ได้ เราคนไทย องค์กรไทย ต้องช่วยตัวเอง ฝรั่งถึงกลับบอกว่า No one knows what the future looks like…


หวังว่าบันทึก ที่จะเตรียม ไว้ พูด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ถ่ายทอด content ในองค์กร จะได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้เห็น Context ที่เปลี่ยน เพราะว่าถ้าองค์กรจะรอให้พนักงานกลับมา รู้สึก Engage กับธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ตอนนั้นเราอาจจะไม่เหลืออะไรแล้วก็ได้จริงๆ


ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ

233 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page